ในคลิปนี้ เราจะมาพูดถึงทฤษฎีความโกลาหล (Chaos Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายว่าระบบที่กำหนดโดยกฎตายตัว สามารถแสดงพฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้ ตัวอย่างเช่น การกระพือปีกของผีเสื้อตัวเล็กๆ ในบราซิล อาจส่งผลต่อสภาพอากาศในเท็กซัส และทำให้เกิดพายุทอร์นาโดได้
ทดลอง เล่น Chaos Game
https://www.geogebra.org/m/yr2XXPms
ทฤษฎีความโกลาหลยังเกี่ยวข้องกับ "ความสุ่ม" (Randomness) ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ของการโยนลูกเต๋า
ทฤษฎีความโกลาหลยังอธิบายถึง "แฟร็กทัล" (Fractal) ซึ่งเป็นรูปทรงที่บิดเบี้ยวและซ้ำๆ ที่เรขาคณิตแบบดั้งเดิมมองว่ายุ่งเหยิง แต่แฟร็กทัลมีประโยชน์มากมาย เช่น สามารถใช้เพื่อวัดความยาวของชายฝั่งจำลอง การจำลองการแตกแขนงของต้นไม้ที่ซับซ้อน และเข้าใจการไหลของของเหลวที่ปั่นป่วน