ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? ใครมีหน้าที่หัก? ถูกหักไว้ต้องทำไง? | ศึก 12 ภาษี EP.2
ทำไมเขาถึงหัก #ภาษี ผมไว้ ? แปลว่าผมจ่ายภาษีแล้วใช่ไหมครับ แล้วผมต้องทำอะไรต่อไหม มาทำความรู้จักักับ #ภาษีเงินได้หักณที่จ่าย หรือ #ภาษีหัก กันในคลิปนี้ครับ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ว่านี้ มันเป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณภาษีเงินได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งจะมีผลกับภาษีที่เราต้องเสียหรือขอคืนที่เกิดขึ้นในแต่ละปีนี่แหละครับ โดยมันมาจากความสัมพันธ์ คือ ภาษีเงินได้ประจำปี - ภาษีครึ่งปี - ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย = ภาษีที่ต้องเสียเพิ่มหรือขอคืน
ซึ่งตัว ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หมายถึง ภาษีที่ผู้มีเงินได้หรือผู้ที่ได้เงิน (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) โดนคนจ่ายเงินหักล่วงหน้าและนำส่งให้กับสรรพากรไว้ โดยที่เรา (ผู้รับเงิน) มีหน้าที่เก็บหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมารวบรวมไว้พร้อมกับยื่นภาษีเงินได้ให้ถูกต้องต่อไปครับ
โดยเมื่อ #หักภาษี แล้ว หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้ และ ผู้รับเงินได้ เป็นดังนี้ครับ
1. ผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งให้กับกรมสรรพากร ด้วยแบบฟอร์มตามประเภทการจ่ายเงินได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับผู้รับเงินไว้เป็นหลักฐาน
2. ผู้มีเงินได้ (ผู้รับเงิน) นอกจากรับเงินแล้ว ยังมีหน้าที่เก็บหลักฐานหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้รับจากผู้จ่ายเงินไว้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีของตัวเอง
แต่อย่างไรก็ตาม คนมักจะเข้าใจผิดเรื่องของภาษีหัก ณ ทีจ่ายตามนี้ครับ
1. ไม่ถูกหักภาษี แปลว่า ไม่ต้องยืนภาษี ซึ่งจริง ๆ การหักภาษีไม่เกี่ยวกับกับการยื่นภาษีครับ เราจะต้องยื่นภาษีเมื่อมีรายได้แม้ว่าจะถูกหักหรือไม่หักไว้ก็ตามครับ
2. ถูกหักภาษีไว้แล้วคือจบ ไม่ต้องทำอะไร แต่จริง ๆ ไม่ใช่ครับ เพราะการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้นั้น ไม่ได้แปลว่าเราได้เสียภาษีเรียบร้อยแล้ว เพราะมันเป็นแค่การจ่ายล่วงหน้าอย่างที่ว่ามาครับ
ยกเว้นแต่ว่า การหักภาษีนั้นจะเป็นการหักในลักษณะของ Final TAX หรือ เงินได้ที่มีการเสียภาษีสุดท้ายเมื่อถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ซึ่งในกรณีนี้ ผู้มีเงินได้สามารถเลือกที่จะไม่นำมารวมคำนวณในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ครับ เช่น ดอกเบี้ย หรือ เงินปันผล
ทีนี้มาดูกันต่อถึงหลักฐานการหักภาษีกันบ้างครับ ว่าทั้งผู้จ่ายและผู้รับต้องมีหลักฐานแบบไหนยังไงบ้าง ? เพื่อให้มั่นใจว่าการหักภาษีนั้นเป็นไปด้วยความถูกต้อง นั่นคือ ต้องมีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือว่า ใบ 50 ทวิด้วยครับ
และสุดท้ายสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับผู้จ่ายเงิน คือ การจำอัตรา และ การหักภาษีและนำส่งไว้อย่างถูกต้องให้กับสรรพากร ซึ่งจะมีตัวอย่างในคลิปนี้ด้วยครับ พร้อมกับคู่มือของทางกรมสรรพากรในลิงค์นี้ครับ
https://www.rd.go.th/fileadmin/download/insight_pasi/wht_3_53_030260.pdf
ลองดูรายละเอียดในคลิปนี้พร้อมตัวอย่างเพิ่มเติมได้เลยครับ
#ศึก12ภาษี รวมความรู้พื้นฐานภาษี 12 ประเภทสำหรับประชาชน ที่พรี่หนอมตั้งใจทำเพื่อให้ทุกคนเรียนรู้เรื่องภาษีได้อย่างสนุก และเข้าใจง่าย โดยที่ไม่ต้องอ่านกฎหมายให้ปวดหัวครับ
0:00 Intro
0:33 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร?
0:51 ความสัมพันธ์ของภาษี
3:40 หลักการของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
4:37 ตัวอย่างของแบบแสดงรายการ
5:34 ถูกหักภาษีไว้ต้องยื่นภาษี?
6:21 ภาษีที่หักแล้วจบ Final TAX
7:53 หนังสือรับรองการหักภาษี (50ทวิ)
8:44 ปัญหาของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
9:00 แนวทางในการจัดการภาษีหัก ณ ที่จ่าย
10:56 ตัวอย่างการหักภาษี ณ ที่จ่าย
11:33 สำหรับคนที่ไม่รู้อัตราหักภาษี ดูที่นี่
14:12 สรุป