MENU

Fun & Interesting

ทยอยนอก ๓ ชั้น : วงเครื่องสายไทย

Video Not Working? Fix It Now

เพลง: ทยอยนอก ๓ ชั้น บรรเลง: วงเครื่องสายไทย ____________________________________________ หากจะกล่าวถึงต้นตำรับของบทเพลงประเภทเพลงทยอยแล้วนั้น บทเพลงและศิลปินคนสำคัญที่ได้ฝากผลงานอันเลื่องชื่อให้แก่วงการดนตรีไทย กระทั่งได้รับสมญานามว่าเป็น “เจ้าแห่งเพลงทยอย” นั่นก็คือพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ครูมีแขก” กับผลงานเพลงทยอยที่สำคัญคือ “เพลงทยอยนอก” ซึ่งสันนิษฐานกันว่าครูมีแขกน่าจะประพันธ์ขึ้นในช่วงรัชสมัยการปกครองแผ่นดินโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพลงทยอยนอก นับได้ว่าเป็นบทเพลงต้นตำรับหรือเพลงแม่บทของบทเพลงประเภทที่มีลูกล้อ ลูกขัด ซึ่งในบทเพลงทยอยนอกนี้ พระประดิษฐ์ไพเราะได้สอดแทรกลูกเล่นไว้อย่างวิจิตรพิสดาร ทั้งการเดี่ยว ลูกล้อ ลูกขัด ทำนองและจังหวะหนัก เบา ได้อย่างบริบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะอวดฝีมือและภูมิปัญญาในเชิงของการประพันธ์แล้วนั้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักดนตรีผู้บรรเลงบทเพลงทยอยนอก ได้สามารถสำแดงฝีมือได้อย่างดียิ่งไปในตัวอีกด้วย การนำเสนอในครั้งนี้บรรเลงด้วยวงเครื่องสายไทย แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าบรรเลงในโอกาสใด ซึ่งรายนามนักดนตรีที่ร่วมบรรเลงประกอบด้วย ขับร้อง: ครูณรงค์ รวมบรรเลง ซอด้วง: ครูเบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ ซออู้: ครูฉลวย จิยะจันทน์ ซอสามสาย: ครูอุดม อรุณรัตน์ จะเข้: ครูระตี วิเศษสุรการ ขลุ่ย: ครูเทียบ คงลายทอง ฉิ่ง: ไม่ทราบนามผู้บรรเลง โทน/รำมะนา: ไม่ทราบนามผู้บรรเลง บทร้องของเพลงทยอยนอก ๓ ชั้น นำมาจากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน มีความว่า เนื้อความในบทร้อง ความว่า พี่จะลาไปก่อนแล้วเจ้าแก้วเอ๋ย สิ่งไรที่พี่ทำเจ้าจำได้ ขอฝากขุนช้างด้วยช่วยปลอบใจ ทั้งข้าวปลาหาให้เหมือนพี่ยัง มาถึงกรงขุนทองตั้งอยู่ทั้งคู่ นกโนรีแขวนอยู่ที่เตียงตั้ง นกเอ๋ยเคยเสียงเสนาะดัง ฟังชื่นเชยชมอารมย์นาง อนึ่ง ในการบรรเลงเพลงทยอยนอก ๓ ชั้น ที่นำเสนอในครั้งนี้ ถือเป็นอีกครั้งหนึ่งที่จะได้เห็นถึงความสามารถขั้นสูงของนักดนตรีไทย ที่เรียกกันว่าเป็นบรมครู ซึ่งท่านเหล่านี้สามารถที่จะสำแดงให้เห็นถึงทักษะขั้นสูงของการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสาย และสามารถนำเสนอความงดงามในเชิงสุนทรียศาสตร์ของบทเพลงทยอยนอก ดังที่เจ้าของผลงานได้มีความตั้งใจประพันธ์ขึ้น ซึ่งถือเป็นตัวอย่างอันดีที่นักดนตรีไทยจะได้ฝึกฝนและปฏิบัติตาม Cr. วัฒนา ศรีสมบัติ. (2540). การวิเคราะห์การเรียบเรียงเสียงประสานเพลงทยอยนอก สำหรับวงโยธวาทิต โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มานุษยวิทยาดุริยางควิทยา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. #ระตีวิเศษสุรการ #ทยอยนอกสามชั้น #วงเครื่องสายไทย #ดนตรีไทย ____________________________________________ Meet The Editer: Fanpage: SA-KA Thai Classical Music

Comment