MENU

Fun & Interesting

หลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ เรื่อง *ไขข้อสงสัย* เรื่อง บุญ บาป กฎแห่งกรรม เสียงธรรม

Ami Amornrat : Writer & investor 7,669 lượt xem 5 months ago
Video Not Working? Fix It Now

กรรม (ศาสนาพุทธ) แปลว่า "การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม

กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม - Kamma: action; deed)

1.อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ
2.กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ

การจำแนกประเภทของกรรม

กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้

กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) 4 อย่าง
กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ) 4 อย่าง
กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) 4 อย่าง
กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) 4 อย่าง
จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม

การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ

ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อ ๆ ไป
อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก

เวรกรรม คือ การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.

ประโยชน์ จิตสงบนิ่ง *บุญมหาศาล* ขณะจิตเดียว ไม่ตกนรก ทางสวรรค์ เกิดชาติหน้าไม่ยากจน บุญใหญ่ บารมีติดตัว ฤทธิ์เดชจากสมาธิ ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ
1.ลดความเครียด คลายความวิตก ฝึกความอดทนอดกลั้น ขจัดความคิดลบที่รบกวนจิตใจ และช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น
2.นั่งสมาธิได้บุญ คือจิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัดละกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่มีจิตอกุศลไปชั่วขณะ
3.ฤทธิ์ทางใจ ตาทิพย์ หู้ทิพย์ ญาณปัญญา รู้แจ้งสัจธรรมภายใน

เริ่มต้นได้ง่ายๆ เพียงครั้งละ 5-10 นาที เพื่อให้จิตใจสงบ จดจ่อกับสมาธิในการเรียน และทำงาน หลังจากนั้นค่อยเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นก็ได้

สมถภาวนา เป็นอุบายฝึกจิตให้สงบมีสมาธิ

อุบายฝึกจิตให้สงบ ฝึกสมาธิ จิตใจสงบ มีประโยชน์มากมาย จิตที่ผ่องใส ลดความคิดฟุ้งซ่าน และทำให้จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน

นั่งสมาธิ ในมุมมองของตะวันตก มักใช้คำว่า "Concentration" และ "Meditation" ที่สื่อความหมายถึงการทำสมาธิให้จิตใจสงบ เพื่อเคลียร์หัวให้โล่ง จะได้มีสติจดจ่อมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียน หรือการทำงาน

ซึ่งการกำหนดลมหายใจให้ร่างกายสัมพันธ์กับจิตใจ

ทำให้มีสติและเกิดปัญญาแล้ว ยังมีจุดประสงค์ในด้านการวิปัสสนา เช่น อานาปานสติ ที่สอนให้พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก และตระหนักรู้ปัจจุบันขณะอยู่ตลอดเวลา รวมถึงเมื่อฝึกนั่งสมาธิไปเรื่อยๆ ก็จะมีการแบ่งขั้นกรรมฐานต่างๆ อีกมากมาย

นั่งสมาธิแบบพื้นฐาน สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่

1. ขณิกสมาธิ : การทำสมาธิแบบชั่วครู่ เป็นขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการสมาธิในการเรียน และทำงาน มีสติรู้ตัวตนว่ากำลังทำอะไรอยู่
2. อุปจารสมาธิ : การทำสมาธิในระยะเวลาที่นานขึ้น สำหรับผู้ที่กำลังจะได้ฌาน และนิมิตต่างๆ ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา
3. อัปปนาสมาธิ : การทำสมาธิขั้นแน่วแน่ เข้าถึงฌาน สามารถข่มกิเลสได้ ถือว่าเป็นสมาธิขั้นสูงสุด

ฤทธิ์เดชจากสมาธิ ฝึกอภิญญา เปิดตาทิพย์

Comment