MENU

Fun & Interesting

โหมโรงไอยเรศร์ สามชั้น

Video Not Working? Fix It Now

ธรรมเนียมของการบรรเลงดนตรีไทยในวาระต่าง ๆ ย่อมต้องมีการบรรเลงเพลงโหมโรง เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ก่อนการบรรเลงเพลงอื่น เพลงโหมโรงที่จะบรรเลงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในบริบทต่าง ๆ เช่นบรรเลงด้วยวงอะไร บรรเลงในงานอะไร เป็นต้น

หากบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์พิธีในพิธีสงฆ์ โหมโรงที่ใช้ก็หนีไม่พ้นโหมโรงเช้าหรือโหมโรงเย็น ซึ่งเป็นธรรมเนียมตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากงานนั้นมิได้ใช้วงปี่พาทย์พิธี เพลงที่มักจะใช้โหมโรงคือเพลงโหมโรงเสภา

ปฐมเหตุของการเกิดเพลงโหมโรงเสภานั้น เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในช่วงที่การขับเสภาเป็นมหรสพบันเทิงที่แพร่หลายเป็นอย่างมากจนแตกกอต่อยอดพัฒนามาเป็นการขับเสภาสลับกับการร้องส่งปี่พาทย์และเล่นสืบเนื่องกันมาโดยลำดับ เพลงโหมโรงเสภาได้เข้ามามีบทบาทในการบรรเลงก่อนที่จะส่งร้อง โดยมีรหัสสัญญาณที่นัดหมายกันระหว่างนักดนตรีและนักร้องซ่อนไว้ในตอนท้ายของเพลงโหมโรงเสภา โดยสรุปจึงกล่าวได้ว่ารูปแบบของโหมโรงเสภานอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมและอวดศักยภาพของนักดนตรีแล้วยังเป็นแบบแผนของการส่งร้องที่สมบูรณ์และเป็นระบบสืบต่อกันมากระทั่งปัจจุบัน

เพลงโหมโรงเสภาที่เป็นที่นิยมและนับเป็นยอดแห่งโหมโรงเสภาเพลงหนึ่งคือเพลงโหมโรงไอยเรศร์ซึ่งครูมนตรี ตราโมท และครูวิเชียร กุลตัณฑ์ ได้กล่าวถึงเพลงโหมโรงไอยเรศร์ไว้ในหนังสือ "ฟังและเข้าใจเพลงไทย" ดังนี้

" ในกระบวนเพลงโหมโรงทั้งหมด เพลงไอยเรศร์เป็นเพลงโหมโรงที่จัดว่ายอดเยี่ยมที่สุด ไม่มีเพลงใดสู้ได้เลย ทั้งทางสำนวนทำนองและวิธีดำเนินลีลา ยิ่งกว่านั้นเพลงไอยเรศร์ยังเป็นเพลงที่ให้ความสะดวกและเปิดหนทางให้เครื่องดนตรีทุกชนิดหาความไพเราะได้มาก เนื่องจากความดีของเพลงไอยเรศร์ดังกล่าวมาแล้ว จึงมีวงดนตรีนำไปใช้บรรเลงกันอย่างแพร่หลาย จนเรียกได้ว่า จืด แต่ก็ดูเหมือนจะจืดแต่เพียงชื่อเท่านั้น หากบรรเลงขึ้นเมื่อใด ก็ไพเราะน่าฟังทุกครั้ง ส่วนผู้แต่งเพลงนี้ ยังไม่ทราบว่าเป็นท่านผู้ใด ทราบแต่ว่าคิดขึ้นจากเพลงในเรื่องเพลงฉิ่งแบบหนึ่ง ซึ่งมีเพลงไอยเรศร์ชูงา-ไอยราชูงวง ช้างประสานงา และช้างต่อช้างตั้ง เข้าใจว่ามีมาแต่ครั้งปลายรัชกาลที่ ๓ แต่ไม่ทราบนามคณาจารย์ผู้แต่ง ซึ่งได้แต่งเพลงไอยเรศร์ ๓ ชั้น มาเป็นเพลงโหมโรงเสภา "

*** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางให้นักดนตรีที่ผ่านการเรียนเพลงดังกล่าวมาแล้วได้ทบทวน ผู้จัดทำยังเชื่อว่าการเรียนดนตรีควรเรียนกับครูผู้ชำนาญการ ***


ผู้บรรเลงฆ้องวงใหญ่ : ปกป้อง ขำประเสริฐ
ฉิ่งและกลองแขก : เรียบเรียงในโปรแกรม FL Studio 20
Camera : Panasonic Lumix Gh4 with LUMIX G X VARIO 12-35mm / F2.8 II ASPH. / POWER O.I.S

Comment