เพลง ต้นวรเชษฐ์ , บรรเลง วงฟองน้ำ
ตั้งแต่โบราณกาลเ็นต้นมา ครูบาอาจารย์ทางดนตรีไทยได้อาศัยแรงบันดาลใจจากเพลงไทยประเภทเพลงเรื่อง โดยมีการนำเพลงในบางวรรคบางตอน มาสร้างสรรค์เป็นบทเพลงใหม่ ๆ ในแต่ละยุคแต่ละสมัย สำหรับวงดนตรีฟองน้ำได้บันทึกผลงานเพลงต้นวรเชษฐ์ใน ๓ ลีลา ซึ่งแตกต่างกันโดยในช่วงแรกจะบรรเลงในลักษณะ ของเพลงสองไม้ที่อยู่ในเพลงเรื่องเต่ากินผักบุ้ง ซึ่งอยู่ในสมัยอยุธยาและบรรเลงต่อมาด้วยทำนองต้นวรเชษฐ์ที่พัฒนาขึ้นมาจากทำนองเดิมในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งทำนองดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักกันดี และในช่วงที่สาม ครูบุญยงค์ เกตุคง ได้ทำนองต้นวรเชษฐ์ทางฝรั่งมาจาก ครูพริ้ง ดนตรีรส ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า หลวงชาญเชิงระนาด เป็นผูแต่ง และเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของวิวัฒนาการของความคิดของคนไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน เราจะได้ยินเสียงโหม่ง ฉิ่ง และบัณเฑาะว์ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของพระศิวะ เทพเจ้าของผู้กำหนดกาลเวลา เพื่อจะสร้างความรู้สึกในผู้ฟังว่าเวลากำลังผ่านไปพร้อมกับความคิดของมนุษย์ที่ได้พัฒนาไปจากหลักการของโบราณ
เพลงต้นวรเชษฐ์ ดังกล่าวนี้บรรเลงต่อท้ายด้วยเพลงแขกไทรทางชวาของ ครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ศร ศิลปบรรเลง และเพลง มโนราบูชายัญ ของอาจารย์มนตรี ตราโมท โดยในตอนท้ายจะออกด้วยเพลงต้นวรเชษฐ์ชั้นเดียวและบรรเลงออกลูกหมด
- นักดนตรี - ละมูล เผือกทองคำ : ระนาด / ระนาดทุ้ม , อ.บรูซ แกสตัน : ฆ้องใหญ่ / เปียโน, ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์ : ระนาดทุ้ม / ฆ้องเล็ก ,ไวบราโฟน : ขลุ่ย / ซออู้, ไกวัล ติโลกะวิชัย : รีคดร์ดเดอร์ , ฉิ่ง /บัณเฑาะว์ , จิรเดช เสตะพันธ์ : กีตาร์, ดุษฎี สว่างวิบูลย์พงศ์ : จะเข้ / กังสดาล , สุวิทย์ แก้วกะมล : ปี่ชวา , อ.พิน เรืองนนท์ : เครื่องหนัง , อ.สมชาญ บุญเกิด : เครื่องหนัง, Michael W. Ranta : ฆ้องชัย