MENU

Fun & Interesting

การแสดงชุด "อัปสรสราญอารยบูชาพระศิลาขาว"

Video Not Working? Fix It Now

การแสดงชุด "อัปสรสราญอารยบูชาพระศิลาขาว" โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ ๒๓ “ยอยศสิปปศิลป์ นฤตยาพิพัฒน์ สิบสองทศวรรษ ราชภัฏอยุธยา” ณ เวทีกลางแจ้งลานหลังวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขอขอบคุณ : สถาบันอยุธยาศึกษา เมื่อวันที่ ๓๐-๓๑ มกราคม ๒๕๖๘ ดร.พรรณรพี บุญเปลี่ยน ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักฯ อาจารย์ เจ้าหน้าที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรม และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมพิธีเปิดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ ๒๓ “ยอยศสิปปศิลป์ นฤตยาพิพัฒน์ สิบสองทศวรรษ ราชภัฏอยุธยา” งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม - ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ณ เวทีกลางแจ้งลานหลังวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และ ลานกิจกรรม ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค โดยมี แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี ซึ่งในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้นำการแสดงของนักศึกษาจากสาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในชื่อชุดการแสดง "อัปสรสราญอารยบูชาพระศิลาขาว" ซึ่งบอกเล่าความเป็นมาของพระพุทธรูปศิลาขาวที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ภาพจำหลักนางฟ้า ที่สร้างขึ้นใต้ฐานองค์พระปฐมเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่สื่อให้เห็นถึงอิทธิพลของทวารวดีกับศิลปะอินเดียไปเผยแพร่ ให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศได้ชมความงดงาม ซึ่งได้รับการตอบรับและชื่นชมเป็นอย่างมาก สำหรับงานแสดงศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒๓ นี้ มีสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมงานจำนวน ๑๐๒ สถาบัน เพื่อร่วมสืบสานมรดกวัฒนธรรมตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในระดับชาติ สร้างความตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความหลากหลายตามภูมิภาคต่าง ๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดและประสบการณ์การแสดงในแต่ละสถาบัน ส่งเสริม Soft Power ในระดับชาติ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเฉลิมฉลอง ในวาระครบรอบ ๑๒๐ ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา . . .คณะผู้สร้างสรรค์มีความสนใจและได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธรูปศิลาขาวที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะและอมราวดี ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร และผู้สร้างสรรค์พบสิ่งที่น่าสนใจในเรื่องภาพจำหลักนางฟ้า ที่สร้างขึ้นใต้ฐานองค์พระปฐมเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นภาพที่สื่อให้เห็นถึงอิทธิพลของทวารวดีกับศิลปะอินเดีย ผู้สร้างสรรค์มีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ชมรู้ถึงประวัติความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูปศิลาขาวที่อยู่ ณ องค์พระปฐมเจดีย์ และให้ทราบถึงฐานขององค์พระปฐมเจดีย์ มีภาพจำหลักของเหล่านางอัปสรในสมัยทวารวดีที่น่าสนใจ จากแนวคิดและเป้าหมายข้างต้น คณะผู้สร้างสรรค์จึงขอนำเสนอกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานนี้ แบบผสมนาฏยะจารีต ๒ จารีต ได้แก่ นาฏยศิลป์ไทย และนาฏยศิลป์อินเดีย โดยมีการคิดกระบวนท่ารำขึ้นดังนี้ ๑. การแสดงช่วงแรกเป็นท่าธรรมชาติ และท่านาฏยศัพท์ ๒. การแสดงช่วงนางอัปสร แสดงถึงการร่ายรำถวายพระพุทธรูปศิลาขาวเพื่อความสิริมงคลผู้สร้างสรรค์ผสมผสานท่านาฏยศัพท์อินเดีย. . www.npru.ac.th #สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม #http://cul.npru.ac.th/ #https://npru.ac.th/index.php

Comment