ทยอยนอกสามชั้น : ครูวิมล เผยเผ่าเย็น ขับร้อง ปี่พาทย์เสภาเครื่องคู่ วงฟองน้ำ
ทยอยนอกสามชั้น : ครูวิมล เผยเผ่าเย็น ขับร้อง ปี่พาทย์เสภาเครื่องคู่ วงฟองน้ำ
ขับร้อง : ครูวิมล เผยเผ่าเย็น
ปี่ใน : ครูสุวิทย์ แก้วกมล
ปี่นอก : ครูปี๊บ คงลายทอง
ระนาดเอก : ครูละมูล เผือกทองคำ
ระนาดทุ้ม : ครูวิบูลย์ธรรม เพียรพงษ์
ฆ้องวงใหญ่ : อาจารย์บรูซ แกสตัน
ฆ้องวงเล็ก : อาจารย์ประสาร วงศ์วิโรจน์ลักษณ์
กลองสองหน้า : ครูพิณ เรืองนนท์
ฉิ่ง : อาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ
ฉาบเล็ก : อาจารย์อานันท์ นาคคง
กรับเสภา : อาจารย์เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี
- ทยอยนอกสามชั้น -
เพลงทยอยนอกสามชั้น เป็นเพลงเอกเพลงหนึ่งของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) โดยแต่งขยายจากเพลงทยอยสองชั้นทำนองเก่า ซึ่งมีลักษณะเป็นเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาการเดินของตัวละครที่มีอารมณ์โศกเศร้า วิปโยค อาลัยลา
พระประดิษฐไพเราะได้แต่งเปลี่ยนเสียงให้อยู่ในระดับ "ทางนอก" จึงเรียกว่า "ทยอยนอก" เพลงนี้มีลูกล้อลูกขัดแพรวพราว จัดว่าเป็นเพลงแม่แบบของเพลงประเภทลูกล้อลูกขัด ทั้งยังเป็นเพลงใหญ่ที่นักดนตรีใช้บรรเลงอวดความสามารถของตนเอง
เพลงนี้ใช้หน้าทับทยอยสองไม้กำกับจังหวะ สำหรับในอัตราจังหวะชั้นเดียว มีนักดนตรีไม่ทราบนามได้แต่ตัดทอนลงครบเป็นเพลงเถา
(ที่มาประวัติ : องคาพยพ)
- บทร้องจากเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี -
พี่จะลาไปแล้วเจ้าแก้วเอ๋ย
สิ่งไรเคยที่พี่ทำเจ้าจำได้
ขอฝากขุนช้างด้วยช่วยปลอบใจ
ทั้งข้าวปลาหาให้เหมือนพี่ยัง
มาถึงกรงนกขุนทองอยู่ทั้งคู่
นกโนรีแขวนอยู่ที่เตียงตั้ง
นกเอ๋ยเคยเสียงเสนาะดัง
ฟังชื่นเชยชมอารมณ์นาง.
ที่มาภาพถ่าย : อาจารย์อานันท์ นาคคง
ข้อมูลผู้บรรเลง : ณัฐนนท์ ยาคำ
เทปคาสเซ็ท ปี่พาทย์เสภา ฟองน้ำ ๔ ชุด โหมโรงพม่าวัด
Siamese Classical Music Volume 4 "The Pipat Sepha"
สำเนาเสียงจากเทปคาสเซ็ท : ฉัตรกร เกตุมี
เพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์เพลงไทยในการศึกษา มิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และแสวงหารายได้
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.youtube.com/channel/UCfJUN8NZReI3o-tbjJbVG6w