จากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเจ้าหญิงจามเทวี หรือที่รู้จักกันในพระนามว่า พระนางจามเทวี พระองค์เป็นบุตรพระธิดาของเจ้ากรุงละโว้ ที่ได้รับพระราชสาส์นจากเจ้ากรุงละโว้ให้พระองค์ไปครองเมืองหริภุญชัย ในความเชื่อของกษัตริย์ก่อนจะไปปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ จะต้องมีการลงสรงเพื่อเป็นการล้างสิ่งมลทินออกจากพระวรกาย ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะผู้สร้างสรรค์ จึงสร้างสรรค์การแสดงในรูปแบบการรำลงสรงทรงเครื่อง โดยได้หยิบยกเรื่องราวของเจ้าหญิงจามเทวี หรือพระนางจามเทวี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 มาสร้างสรรค์เป็นการแสดง จากการศึกษา พบว่า ในยุคพุทธศตวรรษนั้น เป็นยุคสมัยเดียวกับอาณาจักรทวารวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 -16 ดังนั้น การแต่งกายจึงสันนิษฐานว่าเป็นการแต่งกายแบบคนในสมัยทวารวดี คณะผู้สร้างสรรค์อ้างอิงการแต่งกายมาจาก พระโพธิสัตว์ เทวรูป ประติมากรรมปูนปั้น ในสมัยทวารวดี ซึ่งศึกษาหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และลงพื้นที่ภาคสนามที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจังหวัดลพบุรี โดยการแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 น้อมรับพระราชบัญชา
ช่วงที่ 2 ทรงเครื่องสะคราญ
ช่วงที่ 3 ยาตราสู่หริภุญชัย
รายนามคณะผู้สร้างสรรค์
นายกานต์สุธี แสนสวัสดิ์
นายชัชวาล พรมอ่อน
นายณัฐพงษ์ นาคนิยม
นางสาวพัณฒ์นวรัตน์ เอนสาร
นายพรชัย แย้มแตงอ่อน
นางสาวรัตยา เชื้อมีแรง
นักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 4 วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ภูกิจ พาสุนันท์
อาจารย์ตรีรัตน์ วิสุทธิพันธ์