MENU

Fun & Interesting

ประวัติพุทธศาสนาที่คุณไม่เคยรู้มาตั้งแต่แรกในอินเดีย และความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

Video Not Working? Fix It Now

ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อาจแบ่งออกได้เป็น ๔ ยุค คือ
ยุคเถรวาทแบบสมัยอโศก
ยุคมหายาน
ยุคเถรวาทแบบพุกาม
ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์
ยุคที่ ๑ เถรวาทแบบสมัยอโศก
พ.ศ. ๒๑๘
พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ ณ พระนครปาฏลีบุตร หลังจากเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้ว ได้ทรงส่งพระสงฆ์ไปประกาศพระศาสนาในดินแดนต่างๆ รวม ๙ สาขา บรรดา ๙ สายนั้น พระโสณะ และ พระอุตตระ เป็นสายหนึ่ง (คัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎกนับเป็นสายที่ ๘ แต่คัมภีร์ศาสนวงศ์นับย้อนเป็นสายที่ ๒) นําพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานใน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าได้แก่ จังหวัดนครปฐม โดยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ เป็นต้น เป็นประจักษ์พยานอยู่จนบัดนี้ (พม่าว่าสุวรรณภูมิได้แก่ เมืองสะเทิม ในพม่าภาคใต้)
ยุคที่ ๒ มหายาน
พ.ศ. ๖๒๐
พระเจ้ากนิษกะมหาราช ทรงอุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่ ๔ ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร และทรงส่งสมณทูตออกประกาศพระศาสนาในอาเซียกลางเป็นต้น คราวนั้นพระเจ้ามิ่งตี่ ทรงนําพระพุทธศาสนาจากอาเซียกลางเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีน และได้ทรงส่งทูตสันถวไมตรีมายัง ขุนหลวงเม้า กษัตริย์ไทยผู้ครองอาณาจักรอ้ายลาว คณะทูตได้นําพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วย ทําให้หัวเมืองไทยทั้ง ๗๗ มีราษฎร ๕๑,๘๙๐ ครอบครัว หันมานับถือพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก
พ.ศ. ๑๓๐๐
กษัตริย์แห่งศรีวิชัย ในเกาะสุมาตราเรืองอํานาจ แผ่อาณาเขตเข้ามาถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี กษัตริย์ศรีวิชัยทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จึงทําให้พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเผยแพร่เข้ามาในภาคใต้ของประเทศไทย ที่อยู่ในอาณาจักรของพระองค์ ดังมีเจดีย์พระธาตุไชยาและพระมหาธาตุนครศรีธรรมราชเป็นประจักษ์พยานถึงบัดนี้
พ.ศ. ๑๕๕๐
กษัตริย์กัมพูชา ราชวงศ์สุริยวรมัน เรืองอํานาจ แผ่อาณาเขตลงมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย และตั้งเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นเมืองหลวงเมืองหนึ่งสําหรับปกครองดินแดนแถบนี้ (จึงเรียกสมัยนี้ว่าสมัย ลพบุรี) กษัตริย์กัมพูชาทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งได้เผยแพร่ต่อขึ้นมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่มหายานสมัยนี้ปนเปผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนถิ่นนี้จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิมกับมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ ทําให้มีผู้นับถือทั้งสองแบบ และมีพระสงฆ์ทั้ง ๒ นิกาย ภาษาสันสกฤตก็เข้ามาเผยแพร่ มีอิทธิพลในภาษาและวรรณคดีไทยมากแต่บัดนั้น
ยุคที่ ๓ เถรวาทแบบพุกาม
พ.ศ. ๑๖๐๐
พระเจ้าอนุรุทธมหาราช หรืออโนรธามังช่อ กษัตริย์พุกามเรืองอํานาจขึ้น ทรงปราบรามัญรวมพม่าเข้าได้ทั้งหมด แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง จรดลพบุรี และทวาราวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทรงทํานุบํารุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้า
ย้อนกล่าวถึงชนชาติไทยในจีน ถูกจีนรุกราน อพยพลงมาทางใต้ตามลําดับ หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวสลายตัว ก็ได้มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นถึงประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๙ ขุนท้าวกวาโอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า ได้มาตั้งอาณาจักรโยนก เชียงแสนในสุวรรณภูมิ กาลเวลาผ่านไปคนไทยก็กระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน เมื่ออาณาจักรกัมพูชาเรืองอํานาจ คนไทยที่อยู่ในเขตล้านนาคือภาคพายัพได้รับอิทธิพลขอมน้อย แต่เมื่ออาณาจักรพุกามแผ่เข้ามาครอบงํา คนไทยในถิ่นนี้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาสืบๆ มาอยู่แล้ว ก็รับนับถือพระพุทธศาสนาแบบพุกามจนเจริญแพร่หลายขึ้นทั่วไปในฝ่ายเหนือ
ยุคที่ ๔ เถรวาทแบบลังกาวงศ์
พระพุทธศาสนาในยุคนี้ คือ แบบที่นับถือมาเป็นศาสนาประจําชาติของไทยจนถึงปัจจุบัน สําหรับยุคนี้ มีรายละเอียดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์มากกว่ายุคก่อนๆ จึงแยกย่อยเป็นสมัยๆ ดังนี้

Comment