ใส่ปุ๋ยอย่างไร เพื่อสะสมตาดอกและเปิดตาดอกให้กับทุเรียน
+++++++การสะสมตาดอก ++++++++++++
สำหรับชาวสวนทุเรียนและชาวสวนผลไม้ครับ การออกดอก นี่เป็น เรื่องสำคัญที่สุดเรื่องนึงทีเดียว บรรดาเซียนๆ ทั้งหลาย มีสูตร สะสมตาดอก สูตรเปิดตาดอก สารพัดสูตร แล้ว จริงๆ อะไรคือ หัวใจของการ ออกดอก อะไรเป็นตัวกำหนดการออกดอก ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจ กลไกการออดอกก่อนคับ
ดอก เกิดจากตาดอก ตาดอกเกิดจากตาใบ ซึ่งขณะที่เป็นตาใบ ตาใบสามารถเปลี่ยนไปเป็น ตาดอก หรือ ตาใบได้ ทั้งคู่ ขึ้นกับ อัตราส่วนระหว่าง N/P
• ถ้าได้รับ N มาก P น้อย ตาใบ จะพัฒนาเป็น ตา ใบ
• ถ้าได้ N น้อย P มากตาใบ จะพัฒนาเป็น ตาดอก
ในช่วงที่จะพัฒนาตากตาใบ เป็น ตาดอก จะใช้เวลาประมาณ 20-40 วัน นี่ คือ ช่วงที่เราเรียกว่า ช่วงสะสมตาดอก ดังนั้น ช่วง นี้ ถ้า พืชได้ รับ P อย่างเหมาะสม ก็ จะเกิดเป็น ตาดอก และ ถ้า ได้รับ P ในจำนวนที่เพียงพอตาดอกก็ จะเยอะ
การควบคุมปริมาณธาตุไนโตรเจนและธาตุฟอสฟอสรัส เพื่อจะทำการสะสมตาดอกโดยวิธีการดังนี้ครับ
1. ให้ทางดินที่มีสูตรที่ทีตัว P สูงๆ ไม่ว่าจะเป็น 8-24-24....จากนั้นก็ทำการ งดหรือ ลดน้ำอีก 3-4 วัน
2. ทุเรียน หรือแม้กระทั่ง ลำใย มะม่วง ผลไม้ต่างๆ หลังจาก 3-4 วันไปแล้ว จะมีการพ่นสารรแพคโค เพื่อ เพิ่มความเครียด หรือ หยุดการเจริญเติบโตของใบ เพื่อให้ พืช เริ่มสะสมตาดอก
3. สุดท้าย คือ การให้ปุ๋นทางใบที่มีฑาตุตัว P สูงๆ เช่น 0-52-34 ปริมาณ 200-300 กรัม / น้ำ 200 ลิตร ในทุกๆ 7 วัน
โดยทั่วไปแค่นี้ ก็ เพียงพอแล้วคับสำหรับ การสะสมตาดอก ซึ่ง ถ้า ต้นสมบูรณ์ และ สะสมฟอสฟอรัสได้พอ โดยไม่ต้องพ่นสารแพคโค แค่กระทบหนาว ทุเรียน ก็ออกดอกเต็มต้น สบาย ๆครับ
นี่คือ ขั้นตอนที่ เรียกว่า การสะสมตาดอก สรุปว่า การสะสมตาดอก คือ การสะสมหอสฟอรัสให้กับทุเรียนในต้นให้เพียงพอและ ลดไนโตรเจนเพื่อเปลี่ยน ตาใบ ให้กลายเป็น ตาดอกนั่นเอง...โดยเราจะเห็น เป็นตุ่มยอดเล็กๆ นั่นคือโครงสร้างภายในตาใบ เปลี่ยนจากเซลล์ใบเป็นเซลล์ดอกแล้ว เพียงแต่รอขั้นตอนต่อไปคือ...การถูกกระตุ้นให้แทงช่อดอกออกมา หรือ เรียกว่าการเปิดตาดอกนั่นเอง
*******************************
มาดูว่าการเปิดตาดอกคืออะไร และก็ทำอย่างไร
หลังจากพืชสะสมตาดอกได้มากเพียงพอแล้ว อย่าพึ่งดีใจกันละ...การสะสมตาดอกได้เพียงพอหมายถึง ตาใบเปลี่ยนเป็น ตาดอกได้มากทั้งต้น
ในกรณีที่ตาใบจะยังไม่กลายเป็นดอก หรือ แทงช่อดอกออกมา ซึ่งเรามักเห็นสภาพอยู่ดีๆ ตุ่มตาดอกเริ่มแห้งกรอบ ไหม้ ตายไป นั่นคือ สภาพตาดอก ไม่สามารถพัฒนาตัวต่อกลายเป็น ช่อดอก เรียกว่าไม่สามารถเปิดตาดอกได้ ดังนั้นจุดที่ ตาดอกแตกตัวยืดออกมาเป็น ช่อ จุดนี้ ภาษาชาวสวนทุเรียนเขาเรียกว่า การเปิดตาดอกครับ
การเปิดตาดอกขึ้นอยู่กับระดับความเครียด ต้องมีความเครียดบ้าง มากน้อยต่างกันไป ซึ่ง ทุเรียน ความเครียดที่ต้องการคือ ความเครียดจากความเย็น พออุณหภูมิ เย็นลงถึงราวๆ 18-20 พออากาศเย็นลงขนาดนี้
เมื่อเราสะสมตาดอกมาราว 1-2 เดือน ซึ่งจะเพียงพอกับการสะสมธาตุฟอสฟอรัสเพื่อเปลี่ยนตาใบให้กลายเป็นตาดอก พอช่วงเดือน พ.ย. ลมหนาวเริ่มมา...อุณหภูมิลดลงราวๆ ราว 22-18 องศา.....คราวนี้ละให้ทำการอัดน้ำเข้าไป โดยการให้น้ำช่วงเช้าหรือเย็นประมาณ 30-60 นาที แล้วแต่สภาพดิน...ภายใน 2-4 วันทุเรียนจะแทงช่อดอกคับ...หลังจากแทงช่อดอกราว 3-5 วันก็ ต้องรีบให้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุไนรโตรเจนสูงๆ ไม่ว่าจะเป็น 10-52-17ร่วมกับ 0-0-50 เพื่อเสริมช่อดอกให้ แข็งแรง เติบโตได้ดี
ดังนั้นการควบคุมการให้ปุ๋ยระหว่างธาตุไตนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่พอเหมาะ พร้อมด้วยปัจจัยอื่นๆไม่ว่าจัเป็น น้ำ และสภาพอากาศ ที่จัสร้างความเครียดให้กับทุเรียนเพื่อจะทะทำการสมสมตาดอก....และก็เปิดตาดอกได้นั้นเอง
ปัจจุบันโลกมันเลี่ยนไปเยอะครับ...นอกจากการควบคุมปริมาณ N/P และปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวมานะครับ......แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมันก้าวไปไกลมาก...เราสามารถควบคุมการสะสมตาดอก และ เปิดตาดอกได้ ดีขึ้นกว่าเดิม..เพราะปัจจุบันมีฮอร์โมนเร่งดอก เปิดตาดอก ทำให้ขั้วดอกเหนียว ซึ่งมีหลายยีห้อ หลายบริษัทให้เลือกใช้...ก็ลองศึกษาข้อมูลและทดลองนำไปปรับใช้กับพืชหรือทุเรียนของเรานะครัล
แต่สุดท้ายแล้วเราก็ต้องศึกษาและเข้าใจพฤติกรรมของทุเรียนหรือพฤติกรรมของพืชต่างๆ ถ้าเราเข้าใจ เราก็จะรู้ว่าทุเรียนหรือพืชของเรา ต้องการธาตุอาหารประเภทใด...เราก็จะเสริฟอาหารได้ตรงใจทุเรียน ตรงใจพืชของเรา พืชหรือทุเรียนของเราก็จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของเรา..ก็คงเป็นข้อมูลเล็กๆน้อยที่มาฝากพี่น้องเกาตรกรกัน ในช่วงที่สถานกาณืโควิดตึงเครียด...ที่ไม่สามารถออกไปถ่ายทำรายการนอกพื้นที่ได้ครับ....ก็คงหวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับพี่น้องเกาตรกรไม่มากก็น้อยนะครับ...ก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กด subscribe ให้ด้วยนะครับ...ขอให้มีความสุขใหนการทำการเกาตรเช่นเคย ขอบคุณครับ
ติดต่อฅนเกษตร : https://www.facebook.com/KonKaSet89/
ติดต่อทีมงาน Production : https://www.facebook.com/Korkai.studio9/