MENU

Fun & Interesting

การแสดงละคร เรื่องรถเสน ตอนได้พระยาพาชี - พระฤษีแปลงสาร @เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต ครั้งที่ ๕

Thai Traditional Dance and Drama 5,385 lượt xem 1 year ago
Video Not Working? Fix It Now

"รถเสน" เป็นเรื่องที่ปรากฏอยู่ในปัญญาสชาดก หมวดชาดกนอกนิบาต (พาหิรชาดก)
นิยมนำมาแสดงในรูปแบบการแสดงละครชาตรี ต่อมากรมศิลปากรได้นำมาสร้าง
เป็นบทละครรำและออกแสดงครั้งแรก ณ โรงละครศิลปากร เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐
โดยได้นำศิลปะแห่งนาฏกรรมหลายอย่างมาผสมกันแล้วปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงรักษา
แนวทางละครชาตรีของเดิมไว้ให้เห็นเป็นเอกลักษณ์ อาทิ เครื่องดนตรีที่ยังคงใช้เครื่องปี่พาทย์แบบที่ใช้ประกอบละครชาตรีแต่เดิมผสมอยู่ เพลงร้องยังคงมีเพลงละครชาตรีแทรกไว้ กระบวนท่ารำปรากฏท่ารำซัดแบบอย่างละครชาตรีในบางตอนและศิราภรณ์ ได้มีการสร้างขึ้นใหม่ โดยเลียนแบบมาจากเทริดของละครชาตรีที่มีมาแต่เดิม

เนื้อเรื่องย่อการแสดง
รถเสน ทูลขอท้าวรถสิทธิ์ออกไปเลือกจับม้าดีสำหรับใช้เป็นพาหนะขับขี่ไปเมืองคชบุรี
เพื่อไปนำมะม่วงหาวมะนาวโห่มารักษาโรคของนางสันธี โดยก่อนออกไปนางสันธีได้
มอบกลักราชสาส์นที่ตนเขียนถึงนางเมรีให้แก่รถเสน
รถเสน ออกไปจับม้าที่นอกเมืองได้ม้าสีกะเลียว แล้วผูกกลักราชสาส์นเข้ากับคอม้า
และได้ออกเดินทางจนมาถึงในป่าใกล้อาศรมพระกบิลดาบส รถเสนรู้สึกเหนื่อยล้า จึงหยุด
พักผ่อนนอนหลับไปพร้อมกับม้า พอดีพระกบิลดาบสออกจากอาศรมมาพบเข้า เห็นกลักราชสาส์นที่คอม้า
จึงเปิดออกอ่านและทราบเรื่องว่า รถเสนเป็นทูตถือสาส์นมรณะที่จะนำ
ตัวเองไปให้เขาฆ่า โดยความในกลักราชสาส์นที่นางสันธีสั่งไปถึงนางเมรีนั้น มีความว่า
"ถ้ารถเสนไปถึงกลางวัน จงจับฆ่าเสียในกลางวัน และถ้าไปถึงกลางคืน จงจับฆ่าเสียในกลางคืน
อย่าให้ข้ามวันข้ามคืนไปได้" พระกบิลดาบสทราบความดังนั้น จึงนึกสงสาร
และได้แปลงสารเสียใหม่ว่า "ถ้ารถเสนผู้ถือราชสาส์น ไปถึงกลางคืน จงแต่งงานกันเสีย
ในกลางคืน ถ้าไปถึงกลางวัน จงแต่งงานกันในกลางวัน" เสร็จแล้วพระกบิลดาบสจึงนำ
กลักราชสาส์นผูกไว้กับคอม้าตามเดิม แล้วปลุกราชเสนขึ้นไต่ถามเรื่องราว รถเสนได้เล่าความ
ให้ฟังตั้งแต่ต้นจนปลายและขอให้พระกบิลดาบสช่วย พระกบิลดาบสจึงปลอบโยน
และสั่งสอนรถเสนอย่าหลงมัวเมาในลาภยศและรูปรสของสตรี พลางชี้ทิศที่จะไป
ยังเมืองคชบุรี รถเสนจึงกราบลาพระกบิลดาบสแล้วออกเดินทางต่อไป

การแสดงในครั้งนี้ สำนักการสังคีต ได้สร้างสรรค์ทำนองเพลง "โทนม้าชาตรี" ขึ้นใหม่ สำหรับร้องประกอบท่ารำ
ในบทชมความงามม้าตัวเอกของรถเสน ซึ่งประพันธ์บทโดย นายธำมรงค์ บุญราช
นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ ประพันธ์ทางขับร้องโดย นายปกรณ์ หนูยี่
คีตศิลปินชำนาญงาน และประพันธ์หน้าทับโดย นายยุทธนา ชิตท้วม ดุริยางคศิลปินอาวุโส
โดยมี นายสมชาย ทับพร ศิลปินแห่งชาติ ผู้ชำนาญการด้านคีตศิลป์ไทย สำนักการสังคีต
เป็นที่ปรึกษาและแก้ไขปรับปรุงทางขับร้อง
กระบวนท่ารำของรถเสนและม้าตัวเอกในเพลงโทนม้าชาตรี ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่
โดย นายสมเจตน์ ภู่นา นาฏศิลปินอาวุโส ซึ่งนำท่ารำจากรำแม่บทใหญ่ รำซัดชาตรี ฯลฯ
มาเรียงร้อยและสร้างสรรค์กระบวนท่ารำขึ้น ให้มีความเหมาะสมกับบทประพันธ์
และทำนองของเพลง ดังนี้

บทขับร้องเพลงโทนม้าชาตรี

ม้าเอย ม้าดี พ่วงพี สีกะเลียว เขียวขำ
เยื้องอก ยกเท้า ก้าวรำ ย่องย่ำ ทำพยศ งดงาม
ผันผวน ม้วนศอ ย่อย่น เริงรน ร้องร่า น่าเกรงขาม
ผาดผุด ดุจไกรสีห์ ดิลกราม สูงสามศอก สามารถ อาจอง
ชันหู ชูหาง ไว้หน้า สวยสง่า เลิศล้ำ ลำคอหงส์
ตะโหงกเด่น เห็นสัน มั่นคง ดั่งดุรงค์ เทวะ พระจันที
เบาะอาน พานหน้า กะทัดรัด ผูกเครื่อง เรืองจำรัส รัศมี
เผ่นโผน โจนจาก พระบุรี แสนยินดี ควบไป ในพนานต์

บทการแสดงในวันนี้ เรียบเรียงโดย นายธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ
ซึ่งเรียบเรียงมาจากบทละคร เรื่องรถเสน ฉากที่ ๕ ป่าใกล้อาศรม
กรมศิลปากรสร้างบทใหม่ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ ประพันธ์บทโดย นายเสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ
บรรจุเพลงโดย นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ

ธำมรงค์ บุญราช จัดทำคำบรรยาย

---------------------------------

รายนามผู้แสดง

พระรถเสน ชัยกิจ ช่างต่อ
พระกบิลดาบส สุรเดช เดชอุดม
ม้าตัวเอก บัญชา สุริเจย์

ระบำม้า
นงลักษณ์ กลีบศรี จริยา สุขธรรม
ชนิกานต์ นามวิชัย ณัฐมน พรหมจำปา
สุพัตรา แสงคำพันธุ์ จริยา แดงรุน
ศรีสุคนธ์ บัวเอี่ยม ชฎารัตน วังกาวี

------------------------------------

รายนามผู้บรรเลง - ขับร้อง

หัวหน้าวง สุชีพ เพ็ชรคล้าย
ปี่ / ขลุ่ย ฐาปณัฐ ธรรมเที่ยง
ระนาดเอก อธิชล เทพรักษา
ระนาดทุ้ม ภูดินันท์ ยินดี
ฆ้องวงใหญ่ วัชรินทร์ ม่วงท้วม
ฆ้องวงเล็ก ศุภโชค ยอดประเสริฐสุด
ซออู้ วิศรุต แซ่จุ่ง
เครื่องหนัง นิรันดร์ หรุ่นทะเล รณภัทร นามดี
ฉิ่ง นลินนิภา ดีทุม
เครื่องประกอบจังหวะ เบญจภูมิ ท่าฉลาด
ขับร้อง (เพลงเถา) ชุลีกร อินวัน
ขับร้อง (ประกอบการแสดง) กิตติคุณ อยู่เจริญ เกียรติศักดิ์ ร่มสันเทียะ
ปกรณ์ หนูยี่ กานต์สิณี สังเวียนทอง
ภมรรัตน์ โพธิ์สัตย์ วันเพ็ญ จิตตรง
วรรณิดา วีระกุล

กำกับการแสดง ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์
ช่วยฝึกซ้อมการแสดง สมเจตน์ ภู่นา บัญชา สุริเจย์
จุฑามาศ สกุลณี

อำนวยการฝึกซ้อมการแสดง พงษ์พิศ จารุจินดา วันทนีย์ ม่วงบุญ
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์
สมชาย อยู่เกิด

อำนวยการฝึกซ้อมการบรรเลง - ขับร้อง
สมชาย ทับพร ศิลปินแห่งชาติ
ปี๊บ คงลายทอง ศิลปินแห่งชาติ
ไชยยะ ทางมีศรี บุญช่วย แสงอนันต์
อุทัย ปานประยูร เสรี สินธุชัยภาคเสรี

พิธีกร เณศรา นาคทรรพ
ผู้ประกาศ ธำมรงค์ บุญราช
ควบคุมฉาก ฉลาด เมืองจันทร์
ควบคุมเครื่องแต่งกาย น้ำทิพย์ ศิริมงคล
จัดทำบท / คำบรรยาย จรัญ พูลลาภ ธำมรงค์ บุญราช
เทคนิคแสง สี เสียง กลุ่มโรงละครแห่งชาติ
จัดทำสูจิบัตร กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต
บริหารงานทั่วไป พัชรินทร์ เหลืองเอี่ยม
ควบคุมงานโรงละครแห่งชาติ วีรชาติ แพทย์รัตน์
ควบคุมงานวิชาการ อัมไพวรรณ เดชะชาติ
ควบคุมงานดุริยางค์ไทย เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี
ควบคุมงานนาฏศิลป์ สิริวรรณ อาจมังกร
ที่ปรึกษา บุญตา เขียนทองกุล
สมชาย อยู่เกิด
ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์
วันทนีย์ ม่วงบุญ
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
อำนวยการแสดง ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา

Comment