ชื่อชุดการแสดง : ฟ้อนสาละวัน ฉบับวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด
ประวัติการแสดง
ลำสาละวัน เป็นวัฒนธรรมของชนชาติลาวอีกประเภทหนึ่ง โดยเป็นมหรสพของชุมชน ต่อมาได้ประยุกต์เพิ่มกลอนลำประกอบท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยอิสระตามธรมชาติ นอกจากนั้นท่วงทำนองของการลำยังมีการเอื้อนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ลำสาละวันจึงเป็นเอกลักษณ์ของชาวสาละวันมายาวนาน โดยการแสดงชุดฟ้อนสาละวัน คณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดเล็งเห็นคุณค่า ความไพเราะของทำนอง และบทร้อง ตลอดจนท่าฟ้อนรำที่สื่อความหมายตามแบบศิลปะพื้นบ้านที่บริสุทธ์ โดยพยายามอนุรักษ์การฟ้อนแบบดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด โดยไปศึกษาการขับลำสาละวัน และท่าฟ้อนสาละวัน ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแล้วนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทยอีกครั้ง จึงได้นำฟ้อนประกอบลำสาละวันมาจัดระเบียบแบบแผนในการแสดงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2542 นำเสนอ ณ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย โดยดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบการแสดงวงโปงลาง แต่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมเอาไว้อย่างครบถ้วน
อาจารย์ผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำ
อาจารย์ ดร.ชัยณรงค์ ต้นสุข
อาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัตติยา โกมินทรชาติ
แสดงโดย
นายมงคลชัย เขาแก้ว
นายพงศ์พัทธ์ ชนชี