MENU

Fun & Interesting

สายดิน คืออะไร..? ฉบับสมบูรณ์

Zim Zim DIY 52,527 4 years ago
Video Not Working? Fix It Now

สายกราวด์คืออะไร? สายกราวด์ที่เราพอรับรู้ก็คือสายดินใช่ไหมครับ ใช่แล้วละครับมันคือสายเส้นเดียวกันที่เชื่อมต่อถึงกัน และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เครื่องซักผ้า แอร์ ตู้เย็น ก็มีสัญลักษณ์เป็นรูปกราวด์อยู่ด้วยแล้วกราวด์คืออะไร เพราะฉะนั้นวันนี้ ทางช่อง Zimzim DIY จะมาอธิบาย คำว่ากราวด์ให้เพื่อนๆ ได้รับฟังครับ มาเริ่มต้นกันที่บ้าน ที่อยู่อาศัยของเรากันก่อนนะครับ ภายในบ้านเรือนของเรา มันก็จะมีเครื่องใช่ไฟฟ้าหลายประเภทใช่ไหมครับ เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็จะมีง่ามปลั๊กอยู่ 3ขา หรือ ถ้าภาษาชาวบ้านๆเขาว่าปลั๊ก 3 ทาง ปลั๊ก 3 ทางนี้ มันจะมีขาหนึ่งที่เป็นขากลมๆแบบนี้อยู่ 1 ขา แล้วรูกลมๆนี้มีไว้ทำไม มันมีไว้ เพื่อเสียบกับช่องกราวด์นั้นแหละครับ แต่ก่อนที่จะไปรู้จัก กับกราวด์ เพื่อนๆต้องเข้าใจอีก สองขาที่เหลือซะก่อนนะครับ ขาที่เหลือ มันจะไปต่อกับ Line กับ N หลายๆท่านก็อาจจะเรียกติดปากว่า สายบวกกับสายไฟลบ นะครับ แท้ที่จริงแล้ว สายไฟบวก เขา จะเรียกว่าสาย ไลน์ ส่วนสายไฟลบ เขาจะเรียกว่าเป็นว่าเป็นสาย นิวตรอน สายนิวตรอนจะไม่มีไฟเลี้ยงแล้วก็เป็นค่ากลางทางไฟฟ้า ส่วนสาย Line จะมีไฟกระแสสลับวิ่งอยู่ภายในตัวมันครับ มันต้องเดินทางมาเป็น คู่แบบนี้ครับ ถ้าขาดเส้นไดเส้นหนึ่ง ไฟจะเดินไม่ครบวงจร และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไม่ทำงาน ซึ่งสายไฟ มักจะกำหนดเป็นสายสี เป็นสายสีน้ำตาลและสายสีน้ำเงิน อยู่เสมอ ส่วนสายกราวด์ จะเป็นมาตฐานสาดลทั่วโลก ก็คือสายสีเขียว บางทีก็จะเห็น เป็นสีเขียวพาดเหลือง แล้วเพื่อนๆ อย่าคิดว่า สายไฟสีน้ำตาลเป็นสาย Line เสมอนะครับ ถ้าอยากรู้ว่า สายเส้นไหนมีกระแสไฟวิ่ง ให้ใช้ไขควงวัดไฟแหย่ดูครับ สำหรับ สาย line กับ N มีสองสายแค่นี้ เครื่องใช้้ไฟฟ้าก็สามารถ ทำงานปกติครับ บริเวณด้านหลัง ของปลั๊ก เพื่อนๆจะเจอกับสายลวดทองแดงเดินอยู่ในกำแพง ถ้าให้ไล่ย้อนกลับไป มันก็จะเข้าไปที่เบรคเกอร์เล็ก และก็ ย้อนกับไปเมนใหญ่ ออกนอกบ้าน เข้าเสาไฟฟ้า เข้าหม้อแปลงที่ไหนสักที่ บริเวณนั้น อีก เส้นหนึ่ง N หรือ Neutral สายนี้จะต่อลงกับตู้โลหะเบรกเกอร์ หรือว่าบาร์กราวของตู้ไฟ แล้วก็จั้ม ออกนอกบ้าน ไปเข้า เสาไฟฟ้า และ ไปเข้าหม้อแปลงหม้อเดียวกัน นี้คือภาพจำลอง การไหล ของกระแสของไฟจากเส้น Line สังเกตุว่าไฟมันจะเดินทาง มาจากโรงไฟฟ้า ผ่านหม้อแปลง ผ่านเสาไฟฟ้า เข้าเบรกเกอร์ แล้วก็เข้า ปลั๊ก อุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนนิวตรอน ก็จะผ่าน อุปกรณ์ไฟฟ้า ลงมาที่ปลั๊ก เข้าโครงตู้เบรกกเกอร์ และ ผ่านเสาไฟฟ้า และไปที่ Center tap ของหม้อแปลง มาถึงตอนนี้ เราก็ยังไม่เห็นความจำเป็นของระบบกราวด์ เลยนะครับว่าจะมีประโยช์นอย่างไร แต่สังเกตุดูดีๆ นะครับ นอกจากสาย N แล้ว ยังมีสายไฟเส้นใหญ่ๆ อีกเส้น ต่อกับกล่องโลหะหรือตู้ไฟเช่นกัน นั้นก็คือสายกราวด์ นั้นเองครับ ทำไมต้องต่อกราวด์ รวมกับ สายนิวตรอนด้วย ผมจะยกตัวอย่างแบบนี้ครับ สมมุติว่าคุณมีเครื่องใช้ไฟฟ้า 1 เครื่อง แล้วบอดี้ของมันเป็นโลหะ แล้วเกิดวันวันใดวันมีหนึ่งหนูมากัดแทะตรงฉนวนที่หุ้มสายไฟขาด เห็นทองแดงเปลือย ลวดทองแดง ก็อาจจะไปแตะโครงเหล็กทำให้เกิดไฟฟ้ารั่วออกมาได้ เจ้าตัวสายดินที่อยู่บนปลั๊กสามง่าม มันก็จะต่อ เข้าตัวถังของเครื่องใช้ไฟฟ้าของเรา ซึ่งโดยปกติของมันแล้วจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านบริเวณนี้ แต่ถ้าเกิดกรณีรั่ว เราจะได้รับอันตราย จากไฟฟ้าดูด จากโคลงโลหะที่เราสัมผัสอย่างแน่นนอน แต่โชคดีที่เราติดตั้งสายกราวด์เอาไว้ สายกราวด์มันจะมีความต้านทานต่ำกว่าตัวเรามาก ทำให้ไฟที่รั่วออกมาทั้งหมด ก็จะไหล ผ่าน ตัวถังผ่านสายกราวด์ไปยังตู้ไฟ ที่ต่อรวมเข้ากับนิวตรอน หลังจากนั้นมันก็จะไหลกลับไปที่หม้อแปลง แต่ เนื่องจากเส้นทางที่ไฟรั่ว มันมักจะมีกระแสไฟฟ้าที่ไหลมาก ผิดปกติ เบรกเกอร์ ที่บ้านของคุณ ก็จะโวยวาย ทำการ ตัดวงจรทันที เพื่อไม่ให้เราได้รับอัตราย เพราะฉะนั้นเมื่อ เบรกเกอร์ ตัด ก็ควรจะตรวจสอบอุปกรณ์ ไฟฟ้าว่ามันรั่ว หรือ ต่อกับ อุปกรณ์ที่กินกระแส เกินกำลังมากเกินไปหรือไม่ อย่างเช่นตู้เชื่อมเหล็ก ลองมาดูอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาไฟรั่วเริ่มจาก ฉนวนที่หุ้่มสายไฟขาด แตะ กับ ตัวถัง แต่โชคดีที่เรายังไม่ถึงคาด ตัวถังต่อกับสายกราวด์ มันก็เลยเดินทางไปที่บาร์ตู้เบรกเกอร์ จั้มกับ สายนิวตรอน จากนั้นก็ผ่านเสาไฟฟ้า ไปยังหม้อแปลง ถ้ากระแสไหลมากผิดปกติ เบรกเกอร์มันก็จะตัดการทำงาน แต่ที่ผมพูดมาทั้งหมดลนี้ ก็ยังไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสายดินเลยใช่ไหมครับ เพื่อนๆลองสังเกตุดูที่ตู้เบรกเกอร์อีกครั้งครับ ตู้เบรกเกอร์มันจะมีสายไฟหนาๆ เชือมต่ออยู่ 1เส้น แล้วมันเดินทางไปไหน ถ้าไล่ย้อนกลับไป มันเดินทางไปที่แท่งโลหะ ฝังตรอกลงในพื้นดิน ภายในรั่วบ้านของเพื่อนๆ นั้นแหละครับ ยาวเป็นเมตรๆ และที่หม้อแปลง ก็มีสายลวดโลหะขนาดใหญ่ต่อลงสายดินต่อลงกราวด์ลึกด้วยเช่นกัน ทั้งตู้เบรกเกอร์และ หม้อแปลง ต่างก็ เชื่อมต่อสายกราวด์ลงดิน เพื่อนๆก็อาจจะสงสัยว่า มันก็ไม่ได้มีความจำเป็นสักเท่าไหร่ ถ้าหากไม่ต่อสายดิน เบรกเกอร์ก็ ตัดการทำงานอยู่แล้ว เมื่อมีไฟรั่ว เหตุผลหลักเลยนะครับการไฟฟ้า บังคับให้ติดตั้ง สายนิวตรอนลงกับสายดิน ก็คือกรณี ฟ้าผ่านั้นเองครับ ถ้าฟ้าผ่า บริเวณใกล้เคียง หรือ บริเวณบ้านของคุณ สายดินจะเป็นตัวนำกระแส และ แรงดันไฟที่สูง ลงสู่พื้นดินได้เร็วขึ้น ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่เสียบใช้งานอยู่ได้รับความเสียบหายน้อยลง เพราะมันจะไล่อิเล็กตรอน ลงไปสายดิน โหม่งสู่พื้นโลก และมันจะกระจายตัวไปเรื่อยๆจนมีค่าอเล็กตรอนกระจายอยู่เท่ากันในทุกๆพื้นที่ และเพื่อให้กราวด์ หรือ สายดิน ทำงานได้ดี ดินต้องจะต้องมีความต้านทานต่ำ ควรเป็นพื้นดิน ที่ชุ่มชื่นสักหน่อย ในพื้นที่ที่เป็นกรวดทรายแห้ง จะไม่ค่อยเป็นสื่อกระแสไฟฟ้า มากสักเท่าไหร่นัก ดินนั้นแหละครับ เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่า และทั้งหมดนี้ก็ ส่วนหนึ่งของ สายกราวด์ หรือ สายดิน ที่ผมหยิบยกขึ้นมาพูดและเป็นตัวอย่าง ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Comment