1 ชีวิต แลกกับ 5 ชีวิต คุณเลือกทางไหน? ทดสอบจริยธรรมคุณด้วย Trolley Problem | Shortcut ปรัชญา EP.31
ทำไมการบอกว่าอะไรดีหรือไม่ดีจึงยาก แล้วเราควรเลือกทางไหนดี?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่อง Trolley Problem หรือปัญหารถราง การทดลองทางความคิดเชิงปรัชญา ที่มีสถานการณ์สมมติว่า หากเราเป็นคนขับรถรางแล้วเห็นว่าข้างหน้ามีคน 5 คนอยู่บนราง แต่เราสามารถสับรางเพื่อเปลี่ยนไปอีกเส้นทาง แต่จะทับคน 1 คนแทน เราจะเลือกทางไหน?
จากสถานการณ์สมมตินี้นำมาสู่คำถามสำคัญทางปรัชญาว่า สรุปแล้วความดีคืออะไร เรามีมาตรวัดความดีที่เป็นสากลไหม การกระทำหนึ่งๆ ดีเพราะตัวการกระทำ หรือดีเพราะผลลัพธ์กันแน่ แล้วในชีวิตจริงล่ะ หลักการไหนถึงจะเป็นทางเลือกที่ดีและถูกต้อง?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Time Index:
00:00 Highlights
00:42 ความดีวัดได้จริงไหม?
14:41 Trolley Problem
37:16 ตัวอย่าง Trolley Problem ในชีวิตจริง
41:01 คำถามทิ้งท้าย
อ้างอิง:
1. ประเด็นเรื่องโครงการเติมคนดีให้สังคม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ‘รด. ร้องโครงการเติมคนดี 1 ล้านคนให้สังคม ทำไม่ได้ต้องซ้ำชั้น ถามทำด้วยใจหรือบังคับ’ (https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9407493)
2. ใครสนใจปรัชญาจริยศาสตร์ (Ethics) ขั้นพื้นฐาน ผมแนะนำหนังสือภาษาไทย 3 เล่ม คือ
‘ความยุติธรรม’ โดย ไมเคิล แซนเดล แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล สำนักพิมพ์ซอลท์ (https://salt.co.th/product/justice/)
‘ปรัชญาทั่วไป’ โดย โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์(https://www.chulabook.com/history-religion-culture-politics-government/25620)
‘จริยศาสตร์ภาคปฏิบัติ’ (Practical Ethics) โดย ปีเตอร์ ซิงเกอร์ แปลโดย เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ สำนักพิมพ์คบไฟ(https://www.chulabook.com/history-religion-culture-politics-government/174539)
3. อ่านข้อถกเถียงและการประยุกต์ใช้แนวคิด ‘Trolley Problem’ ทั้งในทางปรัชญา การเมือง เศรษฐศาสตร์ และประสาทวิทยาศาสตร์ ได้จาก
‘Trolley problem #1: การเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นเรื่องที่ถูกต้องทางจริยธรรมเสมอไปหรือไม่?’ โดย ตะวัน มานะกุล (https://www.the101.world/hard-choices-ep-1/)
‘ความเหลื่อมล้ำที่ไม่เหมาะสม ความหงุดหงิดที่ชอบธรรม’ โดย ตะวัน มานะกุล (https://www.matichonweekly.com/column/article_746374)
‘สมองเราเป็นอย่างไร เมื่อต้องตัดสินใจเชิงจริยธรรม’ โดย ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ (https://www.the101.world/brainbug-ep-7-trolley-problem/)
‘จะปล่อยให้คนเดียวตายหรือว่าห้าคนตายดี’ โดย ณัฐวุฒิ เผ่าทวี https://thaipublica.org/2015/04/nattavudh-14/)
4. ข้อถกเถียงของ ฟิลิปปา ฟุต ที่พูดถึงในอีพีนี้มาจากบทความ ‘The Problem of Abortion and the Doctrine of the Double Effect’ (https://philpapers.org/archive/footpo-2.pdf)
5. เข้าไปเล่น Moral Machine ได้ที่ https://www.moralmachine.net/ และอ่านข้อถกเถียงเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ใน ‘Should a self-driving car kill the baby or the grandma? Depends on where you’re from’ (https://www.technologyreview.com/2018/10/24/139313/a-global-ethics-study-aims-to-help-ai-solve-the-self-driving-trolley-problem/)
กดติดตาม และ กดกระดิ่ง: https://bit.ly/45KZn3w
ติดตาม THE STANDARD PODCAST ในช่องทางอื่นๆ
Website: https://www.thestandard.co/podcast
Twitter: https://twitter.com/TheStandardPod
Facebook: https://www.facebook.com/thestandardth
TikTok: https://www.tiktok.com/@thestandard.podcast
Spotify: https://bit.ly/3NhRWZg
Apple Podcasts: https://bit.ly/42OGIkI
SoundCloud: https://soundcloud.com/thestandardpodcast
#Trolley #TrolleyProblem #Shortcutปรัชญา #TheStandardPodcast #TheStandardTh #TheStandardCo #podcast