“ปีละ 3 ล้าน วันนี้หายเกลี้ยง”
ชะตาชีวิตวันนี้ของ คุณลุงประดิษฐ์ แซ่ตั๊น เจ้าของฟาร์มไก่ ในตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เขาเลี้ยงไก่มามากกว่า 30 ปี เป็นรายได้หลักของครอบครัว แต่ปี2560 หลังมีกลุ่มโรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาในพื้นที่ ลุงประดิษฐ์สังเกตุเห็นไก่ไม่กินน้ำที่นำขึ้นมาจากบ่อ จนต้องหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร ก่อนพบน้ำที่น่าสงสัยซึ่งถูกปล่อยจากการบำบัดของโรงงานรีไซเคิลขยะ (ไม่มีใบอนุญาตสถานประกอบการ) มีการปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ลำรางสาธารณะ
.
🔎ลุงตั้งข้อสังเกตว่า หลังพบกลุ่มโรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาตั้งในพื้นที่ช่วงประมาณปี 2560 ตอนนั้นมีเพียงแค่ไม่กี่อาคาร แต่ปัจจุบันกลับพบกลุ่มอาคารของโรงงาน ขยายออกไปมากกว่า 30 อาคาร
.
“ค่าความเค็มในบ่อน้ำของลุงประดิษฐ์มีค่า 2 ppt กว่า ๆ ในลำรางสาธารณะประมาณ 3 ppt ปลายๆ และตรงจุดที่น้ำทะลักออกมาจากบ่อน้ำของโรงงานมีค่าความเค็มเป็น 4 ppt“
💬คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณนิเวศ ค่อนข้างมั่นใจได้เลยว่าค่าความเค็มที่เกิดขึ้นในบ่อน้ำของลุงประดิษฐ์นั้นมีต้อตอมาจากการปล่อยน้ำของโรงงาน
แม้เคยมีคำสั่งห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่สมัยรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ปัจจุบันก็ยังพบเอกชนและผู้ประกอบการนำเข้าขยะมาบดสลายในประเทศไทยอยู่หลายแห่ง จึงเกิดคำถามว่าขยะเหล่านั้นคือขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศหรือไม่ และนำเข้ามาถูกกฎหมายหรือเปล่า ?
แม้ว่าปัจจุบัน ขยะอิเล็กทรอนิกส์จัดอยู่ในขยะประเภทที่ห้ามนำเข้าตามสนธิสัญญาบาเซลที่รัฐบาลไทยได้ลงนามเมื่อเดือนมีนาคม 2566 แต่คุณเพ็ญโฉมกล่าวว่า ยังมีความยากในการตรวจตราจากการนำเข้า ทั้งความมากน้อยของขยะที่นำเข้า และความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่จะสามารถแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะประเภทอื่น ๆ และนี่ยังไม่นับความมากน้อยของตู้สินค้าที่เข้ามาจนไม่สามารถตรวจได้อย่างทั่วถึง เราจึงยังเห็นเอกชนที่ลักลอบนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้ามากำจัดในเขตประเทศไทย
#decode #greeneconomy #BCG #โรงงานขยะ #คลองกิ่ว #ขยะอิเล็กทรอนิกส์