MENU

Fun & Interesting

บริษัทงานจ้างสำรวจ การออกแบบ โครงการผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ ประชุมกลุ่มย่อย เวทีแรกครั้งที่ 2

Video Not Working? Fix It Now

บริษัทงานจ้างสำรวจ ทั้ง 5 บริษัท การออกแบบ โครงการผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ ประชุมกลุ่มย่อย เวทีแรกครั้งที่ 2 เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งใน 5 อำเภอ ในที่ประชุมเห็นด้วยกับโครงการนี้ เน้นต้องอย่าให้คนต้นน้ำขาดน้ำ วันนี้ 25 ก.พ. 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อาคารเอนกประสงค์ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมรัง ตำบลหนองรี อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี นายอธิพัฒน์ ธนาไพศาลวรกุล ปลัดอำเภอ ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอบ่อพลอย ให้เป็นประธานเปิดการประชุมกลุ่มย่อย โดยมี นายอิทธิพัทธ์ รัตนสุวรรณาชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมรัง ให้การต้อนรับ โอกาสเปิดการประชุม นายอธิพัฒน์ ธนาไพศาลวรกุล ปลัดอำเภอบ่อพลอย ได้กล่าวว่าตนเองได้อยู่มาหมายจังหวัด ทั้ง จังหวัดอุดรธานี จังหวัดนครราชสีมา พบเจอปัญหาภัยแล้งมาตลอด ก่อนย้ายไปอยู่กรมการปกครอง ก่อนย้ายมาเป็นปลัดอำเภอบ่อพลอย ก็ได้ศึกษาปัญหาเรื่องนี้มาบ้าง และหากโครงการนี้ดำเนินการแล้วเสร็จประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง โอกาสนี้ นายปรัชญา พงษ์สิงห์จันทร์ ตำแหน่งผู้อำนวยการส่วน (วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ) ส่วนออกแบบระบบชลประทาน กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ เพื่อนำน้ำไปใช้ในพื้นที่แห้งแล้งของจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งทางกรมชลประทานได้ว่าจ้าง ทั้ง 5 บริษัทที่จัดทำออกแบบสำรวจเส้นทางการก่อสร้างโครงการผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ ไปยังพื้นที่ 4 อำเภอประกอบด้วย อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอบ่อพลอย อำเภอหนองปรือบางส่วน อำเภอห้วยกระเจา และอำเภอเลาขวัญ ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้งมานาน ทำให้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเกือบ 5 แสนไร่ รวมถึงน้ำอุปโภค บริโภค ส่วนรายละเอียดต่างๆ ทั้งโครงการก่อสร้าง การเวนคืนที่ดิน จะให้ทางวิศวกรรมของบริษัทเป็นผู้ชี้แจงกับผู้ร่วมประชุมใครั้งนี้ นายชลเทธ มงคลศิลป์ วิศกรโครงการฯ พร้อมนายประยุทธ์ เจริญกุล กล่าวว่า ซึ่งการจัดประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 เวทีแรก เริ่มขึ้นในพื้นที่ตำบลหลุมรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ก่อนไปสู่ในอำเภอต่างๆ โดยในที่ประชุมได้มีการซักถามถึงโครงการฯ จากเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 ท่าน โดยส่วนใหญ่ ประชาชนต้องการให้โครงการนี้สร้างให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อบรรเทาปัญหาความแห้งแล้ง แต่ประชาชนในพื้นที่ต้องการเมื่อก่อสร้างแล้วประชาชนในพื้นที่จะน้ำน้ำผ่านไปยังปลายทางจะต้องมีน้ำใช้ด้วย ไม่ใช่ แค่ผ่านไปเท่านั้น แต่คนต้นน้ำกับขาดแคลนน้ำภายหลัง ยกตัวอย่างในช่วงการก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ ใหม่ๆ ประชาชนให้ความร่วมมือ สุดท้ายประชาชนในพื้นที่กับไม่มีไฟฟ้า และน้ำอุปโภค บริโภค จนถึงเวลานี้ คนหลุมรัง ไม่ต้องการให้เกิดเรื่องเช่นนี้ ส่วนปัญหาการเว้นคืนที่ดิน มีทั้งที่ดินที่อยู่ในการครอบครองของรัฐ เช่นที่ดิน สปก. ที่ดิน ภบท.5 มีอยู่จำนวนมากที่อยู่ในโครงการฯ และที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ ด้วยเช่นกัน ทางกรมชลประทานก็มีการเวนคืนให้ตามสัดส่วนของที่ดิน นายอิทธิพัทธ์ รัตนสุวรรณาชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมรัง ได้กล่าวถึงโครงการผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ เป็นเรื่องที่ดี ปัญหาภัยแล้งจะหมดไป แต่ต้องดูว่าอ่างเก็บน้ำตัวเขื่อนรองรับเพียงพอจะส่งมาให้โครงการนี้หรือไม่ ไม่เช่นนั้น อาจจะตายแค่ยกแรก ปัจจุบันเมื่อเกิดฝนตกหนักน้ำก็ท่วม พอถึงหน้าแล้ง ก็แล้งขาดน้ำเกษตรกรส่วนใหญ่เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ ปลูก อ้อย ปลูกข้าว เพราะการทำเกษตรปัญใจหลักคือน้ำ เมื่อหน่วยงานทุกหน่วยเล็งเห็นความสำคัญตามที่ท้องถิ่นได้เสนอไป จึงได้ให้มีการสำรวจเส้นทางการผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ มาในพื้นที่แห้งแล้ง โดยอ่างเก็บน้ำลำอีซู มีแหล่งกักเก็บน้ำ เมื่อผันน้ำมาจากเขื่อนศรีนครินทร์ ก่อนส่งผ่านไปยังอำเภอห้วยกระเจา อำเภอเลาขวัญ ที่ประชาชนเรียกขานว่าเป็นแดนอีสาน นั้นเป็นเรื่องที่ดี นายอิทธิพัทธ์ รัตนสุวรรณาชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมรัง กล่าวต่ออีกว่าในพื้นยังมีที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์บ้าง ไม่มีเอกสารสิทธิ์บ้าง เมื่อชุดสำรวจลงพื้นที่แล้วให้รับปัญหาความต้องการของประชาชนกลับไปแจ้งกับทางกรมชลฯ ทราบอย่างแท้จริง ปัญหาใหญ่สามารถผ่านได้ แต่อย่าข้ามปัญหาเล็กๆ เหล่านี้ ฝากขอให้แก้กับทุกส่วนให้เท่าเทียมกัน.......เสียง นายอิทธิพัทธ์ รัตนสุวรรณาชัย กล่าวทิ้งท้าย.........

Comment