MENU

Fun & Interesting

‘วรเจตน์’ เล่าเส้นทางกฤษฎีกา (2) : ประธานอยู่ได้ยาว ไม่มีวาระ ก่อเกิดเครือข่ายอีลีทกฎหมาย

Prachatai 1,331 lượt xem 13 hours ago
Video Not Working? Fix It Now

บทบาทของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้นโดดเด่นยิ่ง ดูได้จากการปรากฏตัวบนหน้าข่าวในช่วง ‘หัวเลี้ยวหัวต่อ’ ของการดำเนินนโยบายต่างๆ และกำหนดทิศทางได้ระดับหนึ่ง

แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ประธานกรรมการกฎษฎีกา 14 คนนั้น อยู่ได้ตำแหน่งได้ยาวนาน โดยไม่มีกำหนดวาระ ขณะที่ตัวกรรมการนับร้อยคน มีวาระ 3 ปีก็จริง แต่สามารถต่อวาระได้ไม่มีลิมิต

ทั้งนี้ ประธานกรรมการกฤษฎีกาที่น่าจะรู้จักกันดี ได้แก่ คณะที่ 1 - มีชัย ฤชุพันธุ์, คณะที่ 2 - วิษณุ เครืองาม, คณะที่ 14 - บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ชี้ให้เห็นเรื่องนี้และแสดงความคิดเห็นว่า การอยู่ยาวนี้ไร้ลิมิตนี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะหลังรัฐประหาร 2549 มีการแก้กฎหมายกฤษฎีกาในปี 2551 และเรื่องนี้เป็นสิ่งต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจากจะเกิดเครือข่ายอีลีททางกฎหมายที่สามารถกำหนดทิศทางประเทศเหนือรัฐบาลได้ หากเป็นรัฐบาลที่ไม่เข้มแข็ง ผ่านการตีความกฎหมายต่างๆ

“มันมีการเขียนกฎหมายแบบนี้ ประธานเป็นได้ตลอดชีวิต มันถูกไหม แล้ว ครม.เขาไม่ได้ไปมีส่วน มันถูกไหม คุณกำลังจะสร้างอะไรที่เป็นฝ่ายประจำที่กึ่งๆ เป็นองค์กรอิสระหรือเปล่า”

“เราปล่อยให้มีตำแหน่งที่ไม่มีวาระแบบนี้ในระบบกฎหมายไม่ได้ หรือกระทั่งตัวกรรมการก็ต้องล็อคอายุขั้นสูงเอาไว้ เราไม่ควรปล่อยให้เกิดการรากงอกไปยาวๆ แล้วกลายเป็น authority ผู้ชี้ขาด กำหนดทิศทางทางกฎหมายของประเทศ ทรงอำนาจในการตีความ ผมเคยให้สัมภาษณ์ไว้นานแล้วว่า ผู้ทรงอำนาจตีความคือผู้ทรงอำนาจโดยแท้จริง เพราะการตีความนั้นมันมีผลบังคับจริงๆ มันก็คือกำหนดว่าประเทศเป็นยังไงได้เลย กลายเป็นว่าอำนาจฝ่ายประจำทางกฎหมายมันเพิ่มมากขึ้น”


ฟังตอนที่ 1 ได้ที่ https://youtu.be/pW4j5zS90OE

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://prachatai.com/journal/2025/05/112864

Comment