ในพระพุทธศาสนา อภิญญาหกนี้ถือเป็นผลพลอยได้จากการฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงความรู้และความเข้าใจในระดับสูงขึ้น
อภิญญา 6 คือ
อภิญญาหมายถึงความรู้หรือความสามารถพิเศษที่เกิดจากการทำสมาธิในระดับสูง ซึ่งมีทั้งหมด 6 ประการ ดังนี้:
อิทธิวิธี: สามารถแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ เช่น เดินบนน้ำหรือหายตัวได้
ทิพพโสต: มีหูทิพย์ ฟังเสียงที่มนุษย์ทั่วไปไม่ได้ยิน
เจโตปริยญาณ: รู้ใจผู้อื่น สามารถเข้าใจความรู้สึกและจิตใจของคนอื่นได้
ปุเพนิวาสานุสติญาณ: ระลึกชาติได้ สามารถจำได้ว่าตนเคยเกิดเป็นใครในอดีต
ทิพพจักขุ: มีตาทิพย์ สามารถเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่คนทั่วไปมองไม่เห็น
อาสวักขยญาณ: ความรู้ในการสิ้นอาสวะกิเลส ซึ่งเป็นการเข้าใจและหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหมด
การบรรลุธรรมหมายถึงการเข้าถึงความจริงสูงสุดและการหลุดพ้นจากทุกข์ โดยเฉพาะการบรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่:
1.พระอรหันต์สุกขวิปัสสโก: ผู้ที่หลุดพ้นจากกิเลสแต่ไม่มีอภิญญาหรือฤทธิ์
2.พระอรหันต์เตวิชโช: มีความรู้เกี่ยวกับการเกิดและตายของสัตว์ รวมถึงการระลึกชาติ
3.พระอรหันต์ฉฬภิญโญ: ผู้ที่มีอภิญญาหกประการ ซึ่งรวมถึงอิทธิวิธี, ทิพพโสต, เจโตปริยญาณ, ปุเพนิวาสานุสติญาณ, ทิพพจักขุ, และอาสวักขยญาณ
4.พระอรหันต์ปฏิสัมภิทัปปัตโต: พระอรหันต์ที่สามารถสอนธรรมให้ผู้อื่นเข้าถึงได้
**หมายเหตุ ไม่ได้แนะนำให้ฝึกเพื่อให้สามารถแสดงฤทธิ์ได้ แต่เพื่อการบรรลุธรรมในประเภทที่ 2-4
ขออนุโมทนา กับผู้ที่ฟังจนจบ และปฏิบัติตาม
** กรุณาคอมเม้นด้วยความสุภาพ เท่านั้น
00:00 เริ่มต้น
00:25 แนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอภิญญา
กรรมฐาน 40
กสิณ10 กอง
แปลว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่ง เพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่งเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่าง คือ
ภูตกสิณ 4 (กสิณ คือ มหาภูตรูป) ได้แก่
1.ปฐวีกสิณ
2.อาโปกสิณ
3.เตโชกสิณ
4.วาโยกสิณ
วรรณกสิณ 4 ได้แก่
5.นีลกสิณ
6.ปีตกสิณ
7.โลหิตกสิณ
8.โอทาตกสิณ
กสิณอื่น ๆ ได้แก่
9. อาโลกกสิณ
10. อากาสกสิณ
#กรรมฐาน 40 เป็นอุบาย 40 วิธีที่ใช้ฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ระดับอุปจารสมาธิขึ้นไปได้ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ พอจิตกำหนดจับสิ่งนี้เข้าแล้ว จะชักนำให้จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งนี้ จนเป็นสมาธิได้มั่นคงและเร็วที่สุด ในคัมภีร์อรรถกถาและปกรณ์ #พระราชพรหมยาน #หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้รวบรวมแสดงกรรมฐานไว้ 40 อย่าง คือ
อสุภะ 10
บทความหลัก: อสุภะ
ได้แก่ การพิจารณาซากศพ ที่มีอาการต่าง ๆ กัน รวมกัน 10 อาการ
อนุสติ 10
คือ อารมณ์ดีงามที่ควรระลึกถึงเนือง ๆ ได้แก่ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ มรณานุสติ กายคตานุสติ อานาปานุสติ อุปสมานุสติ
อัปปมัญญา 4
คือ ธรรมที่พึงแผ่ไปในมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกันไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 คือ
เมตตา คือ ปรารถนาดี มีไมตรีอยากให้มนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย มีความสุขทั่วหน้า
กรุณา คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
มุทิตา คือ พลอยมีใจแช่มชื่นบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข และเจริญงอกงาม ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป
อุเบกขา คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตาชั่ง มองเห็นมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย ได้รับผลดีร้าย ตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง
อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร 9 ขั้นตอน ตั้งแต่หยิบจับเข้าปากไปจนออกมากลายเป็นอุจจาระ
จตุธาตุววัฏฐาน
กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่าง
อรูป 4
กำหนดสภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก แล้วเจริญอากาสกสิณ จนได้จตุตถฌานมาแล้ว แล้วจึงยกจิตขึ้นสู่ กรรมฐานแบบอรูปตามลำดับ มี 4 อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ร่วมทำบุญ Online วัดท่าซุง #พระราชพรหมยาน🙏🏾
ธนาคารกรุงไทย สาขาอุทัยธานี
ชื่อบัญชี... #วัดท่าซุง (เงินทำบุญผ่านเว็บไซต์)
เลขที่ 6190189660
หรือเข้าเว็บไซต์ของวัดเพื่อเลือกรายการ #ทำบุญ ต่างๆกับทางวัดท่าซุง ทางเว็บไซต์ตรงของวัด คลิกลิงค์ด้านล่าง
http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=350