00:00 680131 รายการธรรมะสว่างใจ ตอบโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
00:02:41 ๑) เวลาจะทำบางสิ่งให้พอเหมาะ พอดี พอควร เราควรคิดอย่างไร ปฏิบัติอย่างไรครับ?
00:16:04 ๒) ปกติที่ร้านขายอาหารจะนิมนต์พระที่มาบิณฑบาตไว้ทุกวัน โดยที่จะให้ลูกน้องที่เต็มใจ คนไหนสะดวกก็ใส่บาตรได้เลย เราจะได้บุญไหมจากจิตของเราที่อยากให้ลูกน้องได้ทำบุญครับ?
00:17:51 ๓) ไปปฏิบัติตอนเช้าจะตักอาหารที่ชอบ กำลังจะตักอาหาร มือก็ตักอยู่ จิตก็บอกให้เอาเยอะๆ ความที่อยากได้เยอะหาที่สุดไม่ได้เลย จนเป็นความโลภ มือสั่น ใจสั่น รีบเอามือมาไม่ตักอีก จะพิจารณาอย่างไร?
00:23:56 ๔) คนที่ตายจากโรคโควิดนี้ ถือเป็นอุปัทเฉทกกรรมฝ่ายบาปมาตัดรอนหรือเปล่าครับ ถ้าไม่ใช่แบบนี้คนที่ตายก็ต้องติดในปรภพก่อนไปจุติที่ใหม่ใช่ไหมครับ?
00:32:09 ๕) นั่งสมาธิดูลมหายใจแล้วเหนื่อย เพราะเหมือนไปกำหนดเข้าออกเสียเอง เราดูรู้สึกปากที่ขยับคำว่า “พุทโธ” แทนได้ไหม?
00:39:04 ๖) ศาสนาสอนให้เราไม่ยึดมั่นถือมั่น สอนให้คิดว่าไม่มีอะไรเป็นของเรา แต่ขณะเดียวกันตั้งแต่เกิดมา สังคมก็สอนให้เรารู้จักแต่ความเป็นเจ้าของ และผูกพันตลอดเวลา จะมีวิธีแบลันซ์ (balance) ความคิดอย่างไร?
00:56:18 ๗) มีคนแถวบ้าน เขาทำไม่ดีกับผม เวลาเจอเขาทีไร โทสะเกิดขึ้นทุกที เวลาเห็นเขามาคุยกับพี่ข้างบ้าน ผมรู้สึกไม่พอใจ แต่ก็รู้ว่าหากทำอะไรไม่ดีกับเขาไป ผมได้รับวิบากกรรมที่ไม่ดีแน่นอน เขาชอบข่มเหงคนที่กำลังย่ำแย่หรือล้ม และเขาพร้อมที่จะเหยียบซ้ำ และเขาเคยทำร้ายจิตใจผมโดยที่ผมไม่เคยทำอะไรเขาเลย คำถามคือในขณะที่จิตใจผมยังไม่บริสุทธิ์ ผมใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการที่ผมอุทิศบุญให้เขา หลังจากสวดมนต์ ภาวนา เพื่อลดโทสะในใจตนลง และเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองสร้างวิบาก พร้อมกับไม่ไปยุ่งวุ่นวายกับเขา แบบนี้ผมทำวิธีนี้ต่อไปได้ไหมครับ?
01:15:56 ๘) เวลาจิตตั้งมั่น ไม่มีบุคคลตัวตนเราเขา กับจิตพระโสดาบันที่เห็นความจริงว่าจิตไม่ใช่เรา ต่างกันอย่างไรครับ? เวลากิเลสเกิด คนธรรมดากับพระโสดาบันต่างกันอย่างไร?
01:21:42 ๙) ตื่นกลางดึกเพราะเสียงหมาเห่า ลุกขึ้นมาภาวนาหายใจเข้าพุท-ออกโธ จิตไหลไปฟังเสียงหมาเห่ารู้ จิตกลับมาภาวนารู้ จิตหงุดหงิดรู้ ทำวนไปแบบนี้ถูกต้องแล้วใช่ไหมคะ และอยากทราบว่า เมื่อไรจึงจะทำความสุขที่เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิคะ?
01:28:32 ๑๐) การนั่งสมาธิ ต้องนั่งไปตามลำดับหรือไม่ครับ คือดูกาย-เวทนา-จิต?
Clip นี้ตัดมาจากรายการธรรมะสว่างใจ ซึ่งเป็นการถามตอบระหว่างพระพิธีกร กับพระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ดังนั้นสรรพนามที่ใช้แทนตัวกันจึงเป็นแบบพระกับพระสนทนากัน