MENU

Fun & Interesting

9 วิธีง่ายๆ แก้ปัญหา ทำ IF 16/8 แล้วน้ำหนักไม่ลด

Fitterminal 466,526 lượt xem 4 years ago
Video Not Working? Fix It Now

ทำ IF 16/8 น้ำหนักไม่ลด ไขมันไม่ลง ทั้งที่ออกกำลังกายและควบคุมอาหาร เป็นเพราะอะไร?

จากที่ผมเห็นนะครับ เพื่อนๆหลายคนอยากลดน้ำหนักปั้นหุ่นในฝันหลังคลอดลูก บางคนก็ไม่ได้สนใจน้ำหนัก แต่อยากลีน อยากเอาไขมันออก

แน่นอนก้าวแรกเราก็ต้องมาดูสารอาหารโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และแคลอรี่ว่าไม่ได้กินน้อยเกินไป

แต่บางทีทำไมคุมอาหารและออกกำลังกาย น้ำหนักไม่ยอมลดลง ไขมันไม่หาย เผลอๆน้ำหนักอาจจะเด้งขึ้นอีก

ก่อนที่เพื่อนๆจะท้อแท้ รู้สึกเหนื่อย ไม่เข้าใจร่างกายตัวเอง และไม่อยากออกกำลังกายแล้ว เรามาดูกันดีกว่าครับว่า เราทำอะไรผิดพลาดตรงไหนบ้าง และควรปรับปรุงยังไง

▪️เพื่อนๆกำลังอยากซื้อเครื่อง/อุปกรณ์ออกกำลังกายไว้เล่นที่บ้าน แต่ไม่แน่ใจว่าต้องซื้ออะไร แบบไหน เริ่มต้นกี่กิโลกรัม และยี่ห้อไหน

▪️ไม่อยากเสียเงิน เสียเวลา และได้สินค้าไม่ตรงใจ ทักทายมาคุยก่อนซื้อ 👉 จริงใจไม่มีการบังคับ โค้ชเคคอนเฟิร์ม 💯

▪️มีบริหารติดตั้งให้ ส่งถึงบ้าน บริการหลังการขาย & เคลมได้ 100%

👉 ช่องทางการติดต่อ & สอบถาม Promotions

* สั่งของออนไลน์ & ดูโปรโมชั่น: https://www.homefittools.com/
* Facebook Messenger: https://bit.ly/2W6P48N
* LINE Official: LINE Official ︙ ID @homefittools หรือ คลิก: https://line.me/ti/p/~@homefittools
* หน้าร้าน https://goo.gl/gHr4WF ติดถนน ก่อนถึงซอย รามอินทรา 74 * เปิดทุกวัน 9.00 น -21.00 น *

ก่อนอื่นผมอยากบอกว่า การลดน้ำหนักด้วย Intermittent Fasting 16/8 บางทีเราคิดว่าทำอะไรถูกหมดแล้ว ทำไมน้ำหนักไม่ยอมลดลง

ยิ่งถ้าเพื่อนๆคนไหนลดน้ำหนักในช่วงแรกๆได้ดี น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ แต่มันจะถึงจุดหนึ่งที่น้ำหนักนิ่ง ไม่ยอมลดแม้แต่ขีดเดียว

การที่น้ำหนักนิ่งแบบนี้นะครับ เราจะเรียกว่า “Weight Loss Plateau” ซึ่งถ้าเพื่อนๆคนไหนมาถึงจุดนี้ จะรู้สึกท้อ ไม่อยากอออกกำลังกาย และคุมอาหารต่อ

1. อย่าดูแค่ตราชั่งอย่างเดียว

แน่นอนครับว่า การลดน้ำหนักเราก็ต้องชั่งน้ำหนักเพื่อดูพัฒนาการของร่างกาย

แต่เราก็ต้องรู้ด้วยนะครับว่า บางทีตัวเลขบนตราชั่งไม่ได้ดูว่ามวลกล้ามเนื้อเรามีมากขึ้น และไขมันเราอาจจะลดลงเรื่อยๆ

เพราะว่าเป้าหมายจริงๆของการลดน้ำหนัก คือ การลดไขมันในร่างกาย ถ้าเราเล่นเวทเทรนนิ่ง หรือออกกำลังกายเป็นประจำ เราอาจจะมีมวลกล้ามเนื้อมากขึ้นเรื่อยๆ

มวลกล้ามเนื้อจะมีขนาดเล็กกว่าไขมัน กินพื้นที่น้อยกว่า แต่เผาผลาญพลังงานแคลอรี่มากกว่า

ดังนั้น ถึงแม้ว่าตัวเลขบนตราชั่งจะนิ่ง แต่สัดส่วนเราจะเล็กลง เราจะรู้สึกว่าตัวเบาขึ้น สบายตัวขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้นะครับ การที่ฮอร์โมนของผู้หญิงมีระดับที่ไม่นิ่ง และบางทีอาหารที่เรากินเข้าไป อาจจะมีผลทำให้ร่างกายบวมน้ำมากขึ้น

ซึ่งบางทีน้ำหนักอาจจะขึ้นๆลงๆ ตามปริมาณน้ำที่ร่างกายมีมากขึ้น แต่น้ำหนักเราอาจจะไม่ได้เปลี่ยนไปเลย

คำแนะนำจากผม คือ แทนที่เราจะดูแค่ตัวเลขบนตราชั่ง เราย้อนกลับมาดูดีกว่าครับว่า เรารู้สึกดีขึ้นไหม รู้สึกตัวเบา สบายตัวขึ้นหรือเปล่า หรือเสื้อผ้าที่เคยใส่ไม่ได้ เริ่มเอามาใส่ได้หรือยัง

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเหล่านี้ จะทำให้เรามีกำลังใจที่จะลดน้ำและปั้นหุ่นในฝันได้ต่อ โดยไม่ท้อครับ

2. จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ถูกกับผู้หญิงมากครับ โดยเฉพาะช่วงที่เป็นประจำเดือน เพื่อนๆหลายคนจะรู้สึกว่าอยากจะกินอะไรหวานๆตลอดเวลา จนรู้สึกปวดหัวได้เลย แต่พอผ่านช่วงมีประจำเดือน ก็ไม่คิดอยากจะกินอะไรแบบนั้น

แน่นอนเราอาจจะสามารถกินคาร์โบไฮเดรตได้มากขึ้น ระหว่างที่มีรอบเดือน แต่หลังจากนั้น ผมแนะนำให้จำกัดปริมาณคาร์โบไฮรตให้พอดี ถ้าเราอยากลดน้ำหนักและลดไขมัน

งานวิจัยก็คอนเฟิร์มมาด้วยครับว่า การลดปริมาณคาร์บลง มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี

นักวิจัยยังพบว่า การที่เรากินคาร์โบไฮเดรตน้อยลง แล้วเปลี่ยนไปกินโปรตีนและไขมันดีมากขึ้น เราจะรู้สึกอิ่มท้องนานขึ้น

พอเราลดปริมาณคาร์บลง และทำ Intermittent Fasting ไปด้วย ร่างกายจะผลิตคีโตนจากไขมันมากขึ้น

ทั้งสองปัจจัยนี้แหละครับ จะช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาน้ำหนักนิ่งได้ และกระตุ้นร่างกายให้เผาผลาญไขมันากขึ้น

อ่านบทความเต็ม: https://bit.ly/3db8wpP

💪 ถ้าเพื่อนๆมีเป้าหมายอยากลดน้ำหนัก ลดไขมัน อยากมีหุ่นในฝัน ให้ตัวเองภูมิใจสักครั้งในชีวิต

แอดไลน์ที่ลิ้งค์ด้านล่าง แล้วมาปรึกษาก่อนได้ FREE ครับ

#ลดน้ำหนัก #ลดไขมัน #ออกกำลังกายหลังคลอด
===============================
| Follow Us | ช่องทางการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร |
Fitterminal LINE: https://lin.ee/oUroe8R
Fitterminal Facebook: http://bit.ly/2GeJebZ
Fitterminal Instagram: http://bit.ly/2Zh5KtG
Fitterminal Website: http://bit.ly/2GKOWDa

Brolls: www.pexcel.com www.freepik.com www.coverr.com www.pixabay.com

Comment