สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ ผมจะมาพูดถึง วิธีการคายประจุ ของตัวเก็บประจุกันนะครับ ว่าสามารถทำได้ จากวิธีไหนได้บ้าง
โดยผมจะขอ แบ่งเป็น 3 วิธีหลักๆ ที่หลายท่าน นิยมใช้ละกันนะครับ
มาเริ่มต้น จาก C
ตัวที่ มีค่าการเก็บประจุน้อยๆ และ ทนแรงดันได้น้อย อย่างเช่น C พวกนี้ กันครับ
ถ้า อัตราแรงดันทนแรงดันของ C ผมตีว่าไม่เกิน 10V ละกันครับ
ส่วนใหญ่ เราสามารถ
ใช้ วิธีนี้ ในการคายประจุได้
วิธีที่ 1 จะเป็นการคายประจุ โดยทำการช๊อตขั้ว ทั้งสอง เข้าหากัน แบบนี้
ซึ่งก็ถือว่า เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก เพราะว่า สามารถใช้ อุปกรณ์ ที่เป็นโลหะ หรือ ตัวนำไฟฟ้า อย่างเช่น ไขควงแบน ด้ามเล็กๆ มาคล้องเกี่ยวกัน
ทำสัก 2 ถึง 3 รอบ
ก็สามารถคายประจุได้จนหมด ได้แล้ว ครับ
อย่างเช่น C ตัวนี้
มี ค่า 1,000 uF 16V ผมจะชาร์จแรงดันไฟ 5V เข้าไปนะครับ หลังจากนั้น จะลอง ช๊อตขามันดูครับ
นี่ครับ จะได้ยินเสียงมันคายประจุ เบาๆ แบบนี้
เดี๋ยวผมจะ ชาร์จเข้าไปใหม่อีกครั้งนะครับ แต่เปลี่ยน 10V แทน
ก็ ได้ยินเสียงช๊อต เบาๆ ออกมา
แต่ทีนี้เอาใหม่ผมเปลี่ยนไปใช้ C 3800uF 35V ใช้แรงดันในการชาร์จเท่ากัน ที่ 10V
ทีนี้เพื่อนๆ สังเกตุว่า นอกจากเสียงแป๊ะ แล้ว มันยังมีประกายไฟเล็กๆ ออกมาด้วยครับ
เพราะฉะนั้น สเก็ตไฟที่ออกมา ส่วนหนึ่ง มันจะขึ้นอยู่กับการเก็บประจุของ C ด้วยนะครับ
ลองอีกครั้งนะครับ ตัวนี้ มีค่าการเก็บประจุมากกว่า จะทำให้ ช๊อตรุนแรงกว่า อย่างเห็นได้ชัด
ผมยังไม่หนำใจ ผมจะชาร์จแรงดันไฟเติมเข้าไปจดสุดที่ 31V แล้วมา ช๊อตขากันดูอีกทีครับ โดยใช้ไขควงแบน
นี่ครับ แรงดันที่ 31V นอกจากมันจะมีเสียง และมีประกายไฟ เกิดขึ้น มันยังทำให้ผมตกใจ มือยก กระดก เล็กน้อย ครับ
นอกจากนั้น ถ้าใช้ดามไขควง มันยังทำให้ด้ามเกิดรอยอาร์คขึ้นได้ มีจุดมีรอย ผมนึกไปถึง ปากกาเชื่อมจุด แบตลิเที่ยมขึเนมาทันทีเลยครับ
ไม่รู้ว่ามีใคร DIY เคยทำกันบ้างหรือยัง
แต่ ที่สำคัญ ประกายไฟที่มัน สะเซ็นเข้ามา อาจะ เป็นอันตรายต่อดวงตาได้ด้วยนะครับ
วิธีนี้ มีคนเปรียบเปรยว่า มันเหมือนกับเรา มีสปริงอยู่ตัวหนึ่ง ถูก ดึง ถูก ยืดไปจนสุด
แล้วคุณ ก็ปล่อยมันอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นมันจะดีดกลับอย่างรุนแรง
เพราะฉะนั้น วิธีที่ 1 ไม่เหมาะกับ C ที่ค่าการเก็บประจุเยอะ เพราะอาจะจะเป็นอันตรายต่อผู้ปฎิงานและ แผ่นเพลตข้างในของ C ได้
เพราะฉะนั้น เรามา ดูวิธีที่ 2 กันครับ
วิธีที่ 2 เราจะใช้ตัวต้านทานในการ คายประจุ ค่าความต้านทานก็แล้วแต่จะใช้นะ ครับ
แต่ผมจะใช้ประมาณ 150 ohm ขึ้นไป
แต่ถ้าค่ามากจนเกินไป ก็จะทำให้เราใช้ระยะเวลาในคายประจุที่ยาวนาน ขึ้น
และต้องใช้ R ที่ทนกำลังวัตต์ สูงนิดหนึ่งนะครับ อย่างเช่นพวก R กระเบื้อง แบบนี้ ก็ได้
เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า C 3800uF ที่อัดแรงดัน 31V เมื่อสักครู่ เมื่อมาเจอกับ R กระเบื้อง 150ohm ของผม ก็แทบที่จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยครับ
แต่มันคายประจุไปเรียบร้อยแล้ว
ลองวัดแรงดันที่เหลือดู นี่ครับยังเหลือประมาณ 1V กว่าๆ ก็กำจัดโดยการ ช๊อตขาทั้งคู่เข้าหากัน
วิธีนี้ เพื่อนๆอาจจะ DIY ใส่ R เข้าไป อนุกรมกับ หลอด LED ก็ได้นะครับ
เพื่อเช็คสถานะของไฟ ถ้ายังมีไฟอยู่ ก็แสดงว่าประจุยังคลายไม่หมด นั้นเอง ครับ
สำหรับสูตรการคำนวณหา ค่าความต้านทาน จะอยู่ในคลิปนี้นะ ครับ
เดี่ยวผมจะใส่ ลิงค์ที่มุมขวาบนตรงนี้ให้
วิธีนี้ก็ถือว่าปลอดภัยขึ้นมาเยอะเลยครับ เปรียบเสมือน เราค่อยๆ จับสปริงที่ตึง ให้มัน หดเข้ามา ให้มันคลาย ตัวลงมาอย่างช้าๆ
แต่ยังไงๆ เพื่อความชัวร์ ควรจะช๊อตขามันซ้ำ อีกครั้งหนึ่งนะครับ เพราะมันยังมีแรงดันตกค้างอยู่ เล็กน้อย
ไปต่อ กับ วิธีที่ 3
เราจะใช้หลอดไฟ ไส้ 100W ในการคลายประจุ
วิธีนี้ เป็นวิธีที่ ช่างนิยมใช้กัน กับ C ที่มีค่าแรงดันสูงๆ 300V ขึ้นไป ก็จะมีเป้าเสียบ แล้วก็ต่อสาย คีบออกมา
หรือจะ เป็นแบบนี้ก็ได้ครับ
นี่คือ C 450V 100uF แบบมีขั้ว ต่อ ในลักษณะ เรกดิฟายกับ ไดโอดบริดจ์ เป็นชุดทดลอง จำลองว่ามีไฟค้างอยู่ ที่ C เป็นจำนวนมาก
ผมจะเสียบปลั๊กแล้วก็วัดแรงดันให้ดูครับ นี่ครับมีแรงดันประมาณ 333V
เดี่ยวผมจะถอดปลั๊กนะครับ สังเกตุว่ายังมีแรงดันค้างอยู่ที่ 300 กว่าโวลต์ นะครับ
เพราะฉะนั้นผม จะคายประจุ โดยการจั้มขาทั้ง 2 ไปที่ หลอดไฟไส้ นี่ครับ คายประจุ เรียบร้อยแล้ว
ถ้าเสียบปลั๊กค้างไว้ นี่ก็คือ หลอดไฟสว่างเลยนะครับ แต่ถ้าเราคายประจุ ไฟมันจะสว่างวาบ แวํบเดียว แล้วก็หายไป
หลังจากนั้นเพื่อความชัวร์ ก็ช๊อต ขาทั้ง 2 เข้าหากันอีกครั้งครับ
C ก็จะถูก Dischage คายประจุออกไปจนหมด
ถามว่าใช้วิธีที่ 2 ได้ไหม ได้ครับ แต่ต้องเปลี่ยนตัวต้านทาน LED ใหม่ ผมจะใช้ค่าสัก 100Kohm แต่ R กระเบื้อง ยังใช้เบอร์เดิม 150ohm
นี่ครับ ก็ใช้ได้เหมือนกัน
ผมขอนำเสนอไว้เท่านี้ก่อนนะครับ ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ
#วิธีคายประจุ #คายประจุCapacitor #discharge