สรุปนโยบาย Easy E-Receipt 2.0 ค่าลดหย่อนปี 2568 พรี่หนอมสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจ และเงื่อนไขลดหย่อนภาษีทั้งหมดต้องรู้มาให้ฟังในทุกประเด็นครับ
ติดตาม : https://openlink.co/taxbugnoms
เช็ค E-TAX : https://validation.teda.th/webportal/v2/#/validate
รายชื่อ : https://etax.rd.go.th/ETAXSEARCH/easy-e-receipt
0:00 Intro
0:21 เงื่อนไขสำคัญของกฎหมาย (ระยะเวลา)
1:45 ห้ามซื้ออะไรบ้าง ? ซื้อไปก็ไม่ได้ใช้สิทธิ์
2:15 ซื้อสินค้าหรือบริการอะไรได้บ้าง ?
2:30 สิทธิ์ 30,000 บาทแรก
3:30 สิทธิ์ 20,000 บาทหลัง
4:35 จุดสำคัญที่สุดคือ e-tax invoice/e-receipt
6:07 วิธีเช็ค e-tax invoice/e-receipt
6:50 ตรวจสอบสัญลักษณ์
7:10 ตรวจสอบรายชื่อผ
8:15 ตรวจสอบข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
9:10 ข้อความที่ต้องมีในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
10:04 ตัวอย่างกรณี easy e-receipt
10:53 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือเอกสาร
11:52 เราจำเป็นต้องเก็บเอกสารหลักฐานไว้ไหม
12:59 ชวนคุยในมุมของการเงินบ้าง
13:13 อย่าลืมว่ารายการนี้เป็นค่าลดหย่อน
14:31 ยอดใช้สิทธิ์รวม VAT ไหม? / ผ่อนสินค้าได้ไหม?
15:30 มุมมองเรื่องความคุ้มค่าในการใช้จ่ายและสภาพคล่อง
16:40 แชร์เทคนิคในการใช้สิทธิ์ให้คุ้มค่าที่สุด
17:05 ของที่จำเป็น ของชิ้นใหญ่ หรือ ชิ้นเล็ก ?
18:08 วางแผนเรื่องการใช้เงินจากโปรโมชั่นต่าง ๆ
20:33 สรุปประเด็นทั้งหมด
เนื้อหา...
ระยะเวลาใช้สิทธิ์ (สำคัญมาก) เริ่มตั้งแต่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568
1. ซื้อสินค้าและบริการ ให้จบ ให้เสร็จ ในช่วงเวลานั้น และจ่ายเงินให้จบ จะได้หมดปัญหา เน้น! บริการไม่ควรใช้สิทธิได้ก่อนหรือหลัง หรือพูดง่าย ๆ คือ เกินช่วงเวลาที่กำหนดนั่นเอง
2. เอกสารหลักฐาน (E-Tax/E-Receipt) ควรลงวันที่ในช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย เพื่อความชัวร์ว่าออกในวันที่ช่วงนั้นจริง ๆ
ส่วนคำถามว่า ซื้ออะไรได้บ้าง ? อยากให้ดูก่อนว่า เขาห้ามอะไรบ้าง ? อย่าไปซื้อสิ่งที่เขาห้ามก่อนเลยอันดับแรก หลังจากนัั้นดูตามนี้
- มี VAT หรือเปล่า ถ้ามีน่าจะได้
- ถ้าไม่มี VAT ควรเป็น หนังสือ อีบุ๊ค
- หรือซื้อจาก OTOP/วิสาหกิจชุมชน/วิสาหกินเพื่อสังคม
ซึ่งเอาจริง ๆ ไม่สำคัญเท่ากับ "เอกสารที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการออกให้เรา" นั่นคือ เอกสารที่ว่าต้องเป็นอิเล็กทรอนิกส์จริง ๆ ซึ่งได้แก่ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice) หรือ ใบรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Receipt)
คนที่ออกใบกำกับภาษีได้ คือ คนที่จดทะเบียน VAT ส่วน ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Receipt) คนที่ออกน่าจะเป็นกลุ่มเฉพาะที่ใช้สิทธิ์ได้ เช่น หนังสือ/อีบุ๊ค (ยกเว้น VAT แต่ใช้ได้) และกลุ่มคนออกที่เป็นกลุ่มพิเศษ นั่นคือ OTOP/วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม
ป.ล. ในกรณีที่คนขายออกมาเป็นเอกสารรวม มีทั้งชื่อ E-Tax invoice / E-Receipt เลย อันนี้ถือว่าเป็นกลุ่ม E-Tax ที่คนจด VAT ออกครับ
ข้อที่สี่ เรื่องจำนวนเงินสูงสุด 50,000 บาท
แบ่งเป็น 2 ก้อน เอาที่ก้อนแรกก่อน
จำนวนเงินลดหย่อน 50,000 บาท แบ่งเป็น ก้อนแรก 30,000 บาท สำหรับ ค่าซื้อสินค้า/บริการ ตามระบบ VAT รวมหนังสือกับอีบุ๊ค แล้ว สูงสุดได้แค่นี้
ถ้าใครซื้อก้อนแรกเต็มที่ ส่วนที่เหลือ จะเป็นก้อนที่สอง 20,000 บาท กลุ่มนี้ต้องซื้อสินค้าหรือบริการจาก OTOP, วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม
ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และออก E-Tax invoice / E-Receipt ได้
.
แต่ถ้าใครบอกว่าไม่อยากใช้ 30,000 บาทแรก แต่อยากใช้เข้ากลุ่มหลังมากกว่า ก็สามารถใช้สิทธิ์ได้สูงสุด 50,000 บาท ในกลุ่มที่สองได้ทั้งก้อนเลยครับ
ฝากไว้่ว่า มันคือการลดหย่อนภาษีนะ มันลดได้สูงสุดตามอัตราภาษีทีเราเสีย ไม่ว่าจะซื้ออะไร ซื้อแบบไหน เงินที่เสียไปมากกว่าภาษีที่ประหยัดได้ อย่าลืมดูเรื่องการเงินให้ดี ๆ นะครับผม