MENU

Fun & Interesting

อุทยานเเห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ep.1(ทำไมยังไปไม่ถึงสักทีนะเพราะอะไร?) #เดินป่า #adventures #cave

GuyJourney 231 lượt xem 1 week ago
Video Not Working? Fix It Now

มาที่นี่เป็นครั้งที่2เเล้ว ทำไมนะถึงยังไปไม่สุด เพราะอะไร?

Music
1.Audio -Lets Fly
2.ทางของเรา-GuyJourney
3.Blues cumbianchero-cumbia Deli
4.Relaxed and fun holiday:piano and ukulele(1590287)
5.chill,Relaxing,Holiday,Cafe(1607120)
6.Holiday
7.เดินไปไม่สุดดอย-GuyJourney
8.Can't Walk to the end-GuyJourney
9.เดินไปกับธรรมชาติ-GuyJourney
10.walk with nature.-GuyJourney
11.อยากอยู่นานกว่านี้-GuyJourney
12.อยากอยู่นานกว่านี้v.2-GuyJourney


●●ประวัติอุทยานเเห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์●●

อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ หรือที่เรียกว่า อุทยานแห่งชาติถ้ำธารลอด เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในที่ หมู่ที่ 4 บ้านท่าลำใย ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีไม่มาก แต่มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นและ
ธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก หน้าผา และถ้ำธารลอด ที่นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดจากการยุบตัวของหินปูน ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำทำให้เขาหินปูนกลายเป็นสะพานธรรมชาติขนาดมหึมา และมีหลักฐานแสดงถึงด้านประวัติ-ศาสตร์เป็นทางเดินทัพของพม่าและกองทัพญี่ปุ่น มีเนื้อที่ประมาณ 59 ตารางกิโลเมตร


■ ภูมิประเทศ

อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์อยู่ในเขตเทือกเขาภาคตะวันตก ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 240-1,257 เมตร ประกอบด้วยเขากำแพง เขาไม้หอม เขาพุช้างหมอบ จุดสูงสุดคือ ยอดเขากำแพงมีความสูงประมาณ 1,260 เมตร[4] จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาเหล่านี้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยแม่พลู ห้วยตะกวด ห้วยแม่กระพร้อย และห้วยกระพร้อย

■ ภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศในพื้นที่แห่งนี้ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ทำให้ช่วงนี้มีความชื้นในอากาศสูง มีเมฆมาก ฝนตกหนัก มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,700 มม./ปี ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ สภาพอากาศช่วงนี้หนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง มีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 16 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคม ฤดูร้อนจะเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 37 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน

■ พืชพันธุ์และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
สามารถจำแนกประเภทแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ในบริเวณที่เป็นสังคมพืชป่าดิบเขา พบบริเวณแนวเขาและยอดเขากำแพงที่ระดับความสูงประมาณ 1,000-1,257 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่อเดือย ก่อแป้น ทะโล้ มะแฟน อบเชย กำยาน พญาไม้ หว้าเขา มะไฟ ตอง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หนามเค็ด เจ็ดช้างสาร เข็ม เร่ว กระวาน ผักกูด กูดห้อม หญ้าข้าวป่า และหญ้าคมบางเขา เป็นต้น ไม้เถาได้แก่ กระจับเขา จิงจ้อน้อย เมื่อย ข้าวเย็นเหนือ หวาย เป็นต้น และพืชอิงอาศัยที่พบได้แก่ กะเรกะร่อน เอื้องเข็ม ช้าง เอื้องกุหลาบ เป็นต้น สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ประจำได้แก่ ลิงกัง หมีหมา หมาไม้ พญากระรอกดำ เลียงผา นกแก๊ก นกกก และนกพญาไฟ
ในบริเวณหุบเขาที่มีหน้าดินลึก มีความชื้นสูง เช่น หุบเขาริมห้วยแม่พลู ห้วยแม่กระพร้อย ห้วยกระพร้อย และรอบยอดเขากำแพง ถัดจากป่าดิบเขาลงมาตั้งแต่ระดับความสูง 200 –1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ถูกปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง ซึ่งมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางนา ยางแดง พระเจ้าห้าพระองค์ ปออีเก้ง ตาเสือ ข่อยหนาม ชมพูป่า ตาว ตะเคียนทอง ยมหิน ฯลฯ พืชอิงอาศัยเป็นกล้วยไม้ในสกุลหวาย สกุลช้าง กระแตไต่ไม้ นมเมีย ไข่มุก ข้าหลวงหลังลาย ชายผ้าสีดา และจุก โหรินี เป็นต้น ไม้เถาได้แก่ กระไดลิง สะบ้าลิง หวายขม สะแกเครือ หนามขี้แรด และสะแกวัลย์ เป็นต้น และพืชพื้นล่างที่พบได้แก่ เข็มดอกใหญ่ หัสคุณ กะตังใบ กระดูกค่าง เปราะหอม เร่ว ผักหนาม กล้วยป่า โจด แขม และหญ้าเทียน เป็นต้น เนื่องจากสภาพเรือนยอดของป่าประเภทนี้เรียงตัวต่อเนื่องชิดกัน ทำให้มีความชุ่มชื้น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น ชะนีมือขาว ลิงกัง พญากระรอกดำ นกกก นกเขาใหญ่ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า บริเ
สังคมพืชป่าเบญจพรรณพบปกคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติมากที่สุด ตั้งแต่ระดับความสูง 300-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง อยู่ระหว่างป่าดิบแล้งกับป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เสลา รกฟ้า แดง ชิงชัน กระบก ประดูป่า แคทราย งิ้วป่า เปล้าหลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ไผ่ซาง ไผ่ป่า ไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่ผาก เข็ม กระตังใบ หนามเค็ด หัวกลัก เปราะป่า หนวดฤๅษี เป็นต้น เถาวัลย์และพืชอิงอาศัยที่พบได้แก่ หนามขี้แรด หนามเกี่ยวไก่ กล้วยไม้สกุลเข็ม กะเรกะร่อน หวาย และช้าง เป็นต้น สัตว์ป่าที่ใช้ประโยชน์ป่าเบญจพรรณเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารได้แก่ ช้างป่า หมูป่า เก้ง วัวแดง เม่นเล็กหางพอง เม่นใหญ่ กระต่ายป่า ไก่ป่า ไกฟ้าหลังเทา และนกหัวขวานชนิดต่างๆ เป็นต้น



อ้างอิง
Wikipedia

Comment