MENU

Fun & Interesting

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง,มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช?EP.10

Video Not Working? Fix It Now

#การทดสอบนี้เป็นการทดสอบแบบหยาบๆพื้นๆนะครับ เนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องมือที่ดูได้โดยแบบประมาณ ไม่สามารถระบุได้ว่ามีธาตุอาหารใดบ้าง จำนวนเท่าไร แต่พอทำให้รู้ว่ามีปริมาณธาตุอาหารอยู่มาก น้อย หรือปานกลาง #การใช้เครื่องมือวัดนี้วัดโดยตรงจากของเหลวจะให้ผลคลาดเคลื่อนมากกว่าการวัดในดิน #การใช้จัลินทรีย์ให้ได้ประสิทธิภาพต้องใช้หลากหลายชนิด และใช้อย่างสม่ำเสมอ และควรปรับปรุงให้ดินมีอินทรีย์วัตถุที่มีธาตุอาหารร่วมกันไปด้วย เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด #เหมาะสำหรับการเกษตรแบบอินทรีย์ เกษตรอาหารปลอดภัย #ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงทางการเกษตร 1.การใช้เป็นแหล่งอาหารเสริมของสัตว์ เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนสูงถึงร้อยละ 60-65 มีกรดอะมิโนครบถ้วน มีแร่ธาตุและวิตามิน B1 B2 B6 B12 C D E 2.ใช้ผลิตฮอร์โมนพืช เช่น ไซโตไคนิน(Cytokinin) ไคเนติน(Kinetin) และ ซีเอดิน(Zeatin) ออกซิน(Auxin) เร่งการเจริญเติบโตของพืช 3.ผลิตสารกำจัดวัชพืช และยาฆ่าแมลงแบบชีวภาพ ใช้ป้องกันทำลายจุลินทรีย์ที่ไม่ดีที่ทำให้เกิดโรคพืช 4.ใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ช่วยในการย่อยสลายธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุในดินให้พืชดูดซึมไปใช้ได้ง่าย ช่วยตรึงไนโตรเจนในดินเพิ่มให้พืช ช่วยลดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในดินช่วยทำให้รากพืชแข็งแรงขยายตัวหาอาหารได้ดี ช่วยเพิ่มปริมาณแคโรทีนในพืช #การนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไปใช้กับพืช ต้องใช้หัวเชื้อที่เพาะเลี้ยงไว้โดยการตากแดดอ่อนๆไว้ให้มีปริมาณเชื้อที่มากเพียงพอและแข็งแรงดีแล้ว ประมาณ 15-30 วัน ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 100 ซีซี(10ช้อนแกง) ผสมน้ำ 10 ลิตร (1บัวรดน้ำ)ฉีดพ่นทางใบให้พืช หรือใช้รดบริเวณรากพืช # ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน มีผลต่อการที่พืชจะนำเอาธาตุอาหารในดินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ # ความเป็นกรดเป็นด่างของดินไม่ได้มีผลต่อการมีปริมาณธาตุอาหารว่ามีมากมีน้อย แต่เกี่ยวพันในทางอ้อมต่อการที่จุลินทรีย์ในดินที่จะทำกิจกรรมย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปลดปล่อยธาตุอาหารลงสู่ดินเกิดขึ้นได้มากได้น้อย #ดินที่มีความเป็นกรดมากๆ(ค่า PH ต่ำๆ)พืชส่วนใหญ่จะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากธาตุอาหารในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชบางชนิดจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถใช้ประโยชน์ หรืออาจมีธาตุโลหะบางชนิดที่ละลายออกมามากจนถึงระดับที่เป็นพิษต่อพืช #ดินที่มีความเป็นด่างมากๆ(ค่า PH)สูงๆ) ดินจะมีประจุเป็นบวก (+) จะทำปฏิกริยากับธาตุอาหารบางชนิดทำให้มีธาตุน้อยลง หรือมีธาตุอาหารบางชนิดสูงมากจนเป็นพิษต่อพืช # ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า PH) มีค่าระหว่าง 1-14 ค่าที่เป็นกลางคือ 7 ค่าที่ต่ำกว่า 7 ถือว่าดินมีสภาพเป็นกรด ค่าที่สูงกว่า 7 ถือว่าดินมีสภาพเป็นด่าง #ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง(ค่า PH)ในดินที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชส่วนใหญ่มีค่าประมาณ 5.5-6.5 (กรดอ่อนๆ) #การแก้ไขดินที่เป็นกรดมากๆ((PHต่ำๆ) ใช้ปูนขาว โดโลไมท์ เปลือกหอย ขี้เถ้า โรยดิน /ลดการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลงโดยเฉพาะปุ๋ยที่มีไนโตรเจน (N)สูงๆ /ระบายน้ำในแปลงออก เติมน้ำลงใหม่ #การแก้ไขดินที่เป็นด่างมากๆ((PHสูงๆ) ใช้น้ำหมักพืชผัก ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ฉีดพ่นบำรุงดินบ่อยๆ หรือใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ผลิตปุ๋ยหมักไปบำรุงดินบ่อยๆ /ปลูกพืชบำรุงดินโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ทำปุ๋ยพืชสด /ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก # ขอขอบคุณข้อมูลที่ดีๆ จากกรมพัฒนาที่ดิน #สวนคุณนาย3ป. ปลอดภัย ประโยชน์ ประหยัด

Comment