MENU

Fun & Interesting

รำวงมาตรฐาน ภาพสวยเสียงดีดนตรีเพราะ ใช้ฝึกรำได้อย่างต่อเนื่อง ฝึกสอนโดยครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ [HD]

Siammelody 638,638 lượt xem 3 years ago
Video Not Working? Fix It Now

รำวงมาตรฐาน กรมศิลปากร

ผู้แสดง นักศึกษาในภาควิชานาฏดุริยางค์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

แสดงเป็นครั้งแรกในงาน
นาฏศิลปไม่สิ้นสายใย ร้อยรวมใจสดุดี
ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์

ณ โรงละครแห่งชาติ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เนื่องในโอกาศฉลอง อายุ ๘๙ ปี คุณครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์
ศิลปินแห่งชาติ

รำวงมาตรฐาน มีวิวัฒนาการมาจาก “รำโทน” ในอดีต เป็นการร้องรำของชาวบ้านชาย – หญิง รำกันเป็นคู่ ๆ รอบ ครกตำข้าว โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ มุ่งเน้นความสนุกสนานไม่มีแบบแผน ต่อมาเมื่อปี 2487 สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ตระหนักถึงการละเล่นพื้นบ้านประจำชาติ จึงได้ให้กรมศิลปากรปรับปรุงท่ารำโทนใหม่ให้เป็นมาตรฐาน มีการแต่งเนื้อร้อง ทำนองจากแม่บท มากำหนดเป็นท่ารำเฉพาะแต่ละเพลงอย่างเป็นแบบแผนเรียกว่า “รำวงมาตรฐาน” ประดิษฐ์ท่ารำโดย ครูลมุล ยมะคุปต์ , ครูมัลลี คงประภัศร์ และครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์ ส่วนผู้คิดประดิษฐ์จังหวะเท้าของเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ คือ ครูจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสังคีตศิลป์ ปัจจุบันคือ วิทยาลัยนาฏศิลป์ ปี 2485-2486

มีท่ารำที่กำหนดไว้เป็นแบบแผน คือ
เพลงงามแสงเดือน
ท่าสอดสร้อยมาลา​

เพลงชาวไทย
ท่าชักแป้งผัดหน้า​

เพลงรำมาซิมารำ
ท่ารำส่าย

เพลงคืนเดือนหงาย
ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง

เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
ท่าแขกเต้าเข้ารัง

เพลงผาลาเพียงไหล่
เพลงดอกไม้ของชาติ
ท่ารำยั่ว

เพลงหญิงไทยใจงาม
ท่าพรหมสี่หน้า
และท่ายูงฟ้อนหาง

เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า
ท่าช้างประสานงา และ
จันทร์ทรงกลดแปลง

เพลงยอดชายใจหาญ
หญิงท่าชะนีร่ายไม้ ชายท่าจ่อเพลิงกาฬ

เพลงบูชานักรบ
หญิงท่าขัดจางนาง และท่าล่อแก้ว
ชายท่าจันทร์ทรงกลดต่ำ และท่าขอแก้ว

รำวงมาตรฐานนิยมเล่นในงานรื่นเริงบันเทิงต่างๆ แทนการเต้นรำ แบบตะวันตก สำหรับเครื่องแต่งกาย ใช้ได้ทั้งชุดไทย และสากลนิยม
รำวงมาตรฐาน เป็นการรำที่ได้รับความนิยมสืบมาจนปัจจุบัน มักนิยมใช้หลังจากจบงานบันเทิงต่างๆ เพื่อเชิญชวนผู้ร่วมงานออกมารำวงร่วมกันเป็นการออกกำลัง แสดงความสามัคคีกลมเกลียว อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติในการออกมารำวง เพื่อความสนุกสนาน

การแสดงชุดนี้ คุณครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (นาฏศิลป์-ละครรำ) ปี ๒๕๓๓ เป็นผู้ให้แนวคิดและแรงบันดาลใจ ในขณะที่ท่านเป็นอาจารย์พิเศษในคณะนาฏดุริยางค์ศิลป์ คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี โดยการนำเอาท่ารำและทำนองเพลง ในชุดรำวงมาตรฐาน ๑๐ เพลงของกรมศิลปากร มาปรับปรุงใหม่ ทั้งนี้ได้ปรึกษานายสมาน น้อยนิตย์ อาจารย์พิเศษทางดนตรีไทย ลดเพลงจาก ๑๐ เพลงให้เหลือเพียง ๗ เพลง ที่มีลีลาของเพลงต่อเนื่องกัน คือเพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย รำซิมารำ ดวงจันทร์วันเพ็ญ ดอกไม้ของชาติ หญิงไทยใจงาม บูชานักรบ บรรเลงและขับร้องติดต่อกัน

รูปแบบของการแสดงชุดนี้ยังคงใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง แต่งกายในสมัยนิยม เพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย เน้นความพร้อมเพรียงเป็นหมู่คณะ รวมถึงความสอดคล้อง กลมกลืน ในเรื่องของการแปลแถว ที่หลายหลากรูปแบบ แต่ยังคงท่ารำตลอดจนคำร้องทำนองเพลงของเดิมไว้ เรียกการแสดงที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ว่า "ระบำรำวง" มอบการแสดงชุดนี้ไว้ให้แก่นักศึกษาคณะดุริยางค์ศิลป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บริษัท โอเชี่ยน มีเดีย จำกัด ได้นำมาลงเผยแพร่เพื่อเป็นการรำลึกถึง คุณครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ที่ท่านได้จากพวกเราไปแล้ว เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๔ สิริรวมอายุท่าย ๙๕ ปี

ที่ปรึกษา ดร.สมาน น้อยนิตย์
อำนวยการผลิต นายปรีชา ธรรมพิภพ

ตัวอย่างรำวงมาตรฐานแบบต่างๆ ที่น่าชม โดยดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ (ศิลปินแห่งชาติ)

๑.https://youtu.be/e4EzAPGhSEY
๒.https://youtu.be/qJeejHNthxI
๓.https://youtu.be/SBzE-pCjQlo

ร่วมสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โปรดเป็นกำลังใจให้กับเรา ด้วยการช่วยกดติดตาม กดแชร์เพื่อท่านจะได้ไม่พลาดการรับชมใหม่ๆ ของเรา
https://www.youtube.com/channel/UCMGL3TderGw_ITM4Nnn3Y1A?sub_confirmation=1
#Siammelodies

Comment