#กระตุกจิตกระชากใจรายสัปดาห์ ในครั้งนี้เรามาเล่าสู่กันฟังถึงประเด็นของความ "ปกติ" (Normality) ในโลกการแพทย์กันนะครับ ซึ่งมีความสำคัญต่อเวชปฏิบัติตั้งแต่ในฐานะนักศึกษาแพทย์และแพทย์ทั่วไปที่มักได้รับหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ในการจดบันทึกและแก้ไข parameter ต่างๆ ของคนไข้ ทั้ง vital signs, lab tests และอื่นๆ เราอาจต้องตั้งคำถามว่า "ค่าปกติ" คืออะไร มีจริงหรือไม่ มีที่มาอย่างไร และการนำไอเดียของ "ค่าปกติ" ไปใช้ในรูปแบบที่ไม่ได้มีหลักฐานทฤษฏีรองรับ จะส่งผลเสียกับคนไข้หรือไม่ อย่างไร?
และพุดถึงอคติ (bias) เกี่ยวกับการพยายาม "รักษาตัวเลข" ให้ทุกตัวเลขออกมาดีสวยงามไม่ติดแดง (หรือที่เรียนกันว่าภาวะ Euboxia) เมื่อเรามองว่าค่าปกติคือคนไข้ปกติดีเสมอ และค่าผิดปกติต้องแก้ไขให้เร็วที่สุด ต้องแก้ให้ครบทั้งหมด จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดกับคนไข้ทั้งสองทางนี้ได้อย่างไรบ้าง ขอชวนมาพูดคุยกันครับ ^^
ขอให้คนไข้โชคดียิ่งขึ้นไปที่ได้มาเจอเรานะครับ
พี่เพส
Reference:
https://litfl.com/euboxia-and-abnormality/
https://evolutionmedicine.com/2014/06/08/euboxia/
https://shortcoatsinem.blogspot.com/2014/10/euboxia-not-necessary-or-necessarily.html
https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC6352401/
https://www.labtestingmatters.org/from-the-bench/determining-what-is-normal-with-reference-range-verification/
https://www.hilarispublisher.com/proceedings/lognormal-distribution-and-its-applications-in-biological-and-medical-sciences-4628.html