คลายข้อสงสัยกับ รีเลย์ช่วยสตาร์ทตู้เย็น (แบบเซรามิก/แบบ PTC) ทำไมต้อง 1 ...2...และ 3ขา ???
สำหรับท่านที่เพิ่งจะหัดซ่อมหรือศึกษาเรื่องที่เกี่ยบกับตู้เย็นทางระบบไฟฟ้า เราก็จะทราบว่าคอมเพรสเซอร์ของตู้เย็นนั้น จะทำงานได้ก็ต้องมีองค์ประกอบที่ช่วยให้คอมฯ ทำงานนั่นก็คือหนึ่งตัวป้องกันเราเรียกว่า “ โอเวอร์-โหลด (Overload-Protec) “ ... และอีกหนึ่งตัวช่วยสตาร์ทที่เราเรียกว่า “ รีเลย์ช่วยสตาร์ท (Starting Relay) “
... แต่มือใหม่และท่านผู้ที่ศึกษาเริ่มแรก อาจจะสงสัยว่าทำไมเจ้าตัวรีเลย์ช่วยสตาร์ท จึงมีทั้งแบบ 1 ขา 2 ขาและ 3 ขา ซึ่งในที่นี้เราจะพูดถึงรีเลย์ช่วยสตาร์ทแบบ เซรามิก-รีเลย์หรือรีเลย์แบบ PTC เท่านั้น
... ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า คอมเพรสเซอร์ในส่วนของวงจรไฟฟ้านั่นก็คือวงจรมอเตอร์ 1 เฟสนั่นเอง ซึ่งมอเตอร์จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักนั่นก็คือส่วนของ ...
- สเตเตอร์ (Stator) เป็นส่วนที่อยู่กับที่ประกอบด้วยขดลวด 2 ขดคือขดรัน (Run) และขดสตาร์ท (Start)
.. ซึ่งขดลวดทั้ง 2 ขดนี้เป็นจุดกำเนิดหัวหลัก R และ S ที่คอมเพรสเซอร์ ..
... และเมื่อนำปลายทั้ง 2 ของขดรันและสตาร์ทมาต่อรวมกัน นั่นก็คือที่มาของหัวหลัก C หรือที่เราเรียกว่า “ คอมม่อน
(Common) เราจึงได้ที่มาของคำว่า C S และ R นั่นเอง
.... การที่คอมเพรสเซอร์จะทำงานได้ จะต้องให้ขดสตาร์ททำงานได้ก่อน หลังจากนั้นขดรัน ก็จะรับช่วงทำงานต่อไป
จนกว่าจะจบการทำงาน และเมื่อจะเริ่มใหม่ ขดสตาร์ทก็จะเริ่มทำงานก่อนอีกครั้ง เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องตลอดการทำงาน
***** การต่อวงจรไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์ จึงต้องต่อโดย ...
- ให้ไฟ 220Vac เส้น L หรือเส้นไลน์เข้าที่หัวหลัก C ของคอมเพรสเซอร์
- และไฟ 220Vac เส้น N หรือนิวตรอลเข้าที่หัวหลัก R
- ส่วนหัวหลัก S ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรีเลย์ช่วยสตาร์ท ซึ่งในองค์ประกอบของรีเลย์ช่วยสตาร์ทจะมีกลไก ใน
การช่วยสตาร์ทของขอลวด S ก่อนจากนั้นก็จะส่งต่อไฟให้กับขด R เพื่อทำงานให้ต่อเนื่องต่อไป
.... คราวนี้เรามาดูองค์ประกอบของรีเลย์ช่วยสตาร์ทแบบเซรามิก หรือแบบ PTC และการทำงานกัน
.. ภายในตัวของรีเลย์แบบเซรามิก/PTC นั้นจะมีขา 2 ขาโดยมีตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ที่เราเรียกว่า PTC
ต่อคร่อมอยู่ มันจะถูกคร่อมระหว่างหัวหลัก S กับ R
... คุณสมบัติของ PTC ก็คือเมื่อตัวมันเองเมื่ออยู่ในอุณหภูมิปกติ ตัวมันจะมีค่าความต้านทานต่ำมาก
.... และเมื่อได้รับไฟไฟจะไหลผ่านไปยังขด S ก่อน เมื่อไฟไหลผ่านตัวมันครบวงจรจะทำให้เกิดความร้อนที่ตัว PTC
ในขณะที่มอเตอร์ก็เริ่มหมุน
….. เมื่อเกิดความร้อนความต้านทานก็จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ จนทำให้ไฟ 220Vac ไม่สามารถไหลผ่านตัวมันได้อีก กระแสไฟจึงมาไหลผ่านที่ขดลวด R แทน มอเตอร์จึงหมุนอย่างต่อเนื่องได้
แล้วทำไมต้องมีรีเลย์ 1.. 2... และ 3ขา เราจะเข้าไปหาคำตอบและทำความเข้าใจภายในคลิปตัวนี้กัน
ก็หวังว่าคลิปวีดีโอนี้คงจะเป็นประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยในคำอธิบายสามารถโทรสอบถาม ได้ที่เบอร์ 084-6663328 ได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้รับสายก็พักซักครู่แล้วลองโทรใหม่ อาจจะขับรถ หรืออยู่หน้างาน อาจจะไม่สะดวกรับสายในขณะนั้น
“ ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน “
“ ขอให้ประสบความสำเร็จในงานที่ทำ “
.... กราบขอบพระคุณสำหรับการรับชมและติดตาม สามารถสนับสนุนช่องยูทูปของเราได้ที่ ธ.กสิกรไทย สาขาบางพลัด เลขที่บ/ช 089-8-70371-1 นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์
ออกอากาศเมื่อวันอาทอตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2565 เวลา 17.00 น.