เรื่องราวของขงเบ้ง ที่ได้เดินทางไปยังกังตั๋ง เพื่อเจรจาสร้างพันธมิตรซุนกวนเล่าปี่ ในระหว่างที่รอซุนกวนอยู่นั้น ขงเบ้งได้มีโอกาสเสวนากับบรรดา7นักปราชญ์แห่งกังตั๋ง อันประกอบไปด้วย
1.เตียวเจียว
2.ยีหวน
3.โปเจ๋า
4.ชีหอง
5.ลกเจ๊ก
6.เหยียมจุ้น
7.เทียตก
เป็นการเชือดเฉือนกันด้วยถ้อยคำ วิวาทะ อย่างถึงพริกถึงขิง ไม่มีใครยอมใคร แต่ขงเบ้งก็สามารถใช้ปากของตน กำราบ 7นักปราชญ์แห่งกังตั๋งได้อย่างราบคาบ
แหล่งที่มา/แหล่งสืบค้น
1.สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)
2.สามก๊ก ฉบับวณิพก
3.สามก๊ก ฉบับคนขายชาติ
4.ซีรีส์สามก๊ก ปี 1994
5.ซีรีส์สามก๊ก ปี 2010
สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน (ค.ศ. 220-280) ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นการเล่าแบบบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น มีที่มาจากสามก๊กจี่ จดหมายเหตุประวัติศาสตร์ที่ตันซิ่วเป็นผู้บันทึกในสมัยราชวงศ์จิ้น แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 เรื่อง คือ จดหมายเหตุก๊กวุ่ย (วุ่ยก๊ก) จดหมายเหตุก๊กจ๊ก (ก๊กถ๊ก) จดหมายเหตุก๊กง่อ (ง่อก๊ก) ใช้เวลารวบรวมนานกว่า 30 ปี จนได้จดหมายเหตุสามก๊กที่มีความยาวถึง 65 เล่มสมุด ต่อมาสมัยราชวงศ์เหม็ง (หมิง) นักปราชญ์จีนหลอกว้านจง ได้นำเอาจดหมายเหตุของตันซิ่วมาแต่งเป็นนิยายให้มีความสนุกสนานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองเรียกว่า สามก๊กจี่ทงซกเอี้ยนหงี ที่มีความหมายว่า จดหมายเหตุสามก๊กสำหรับสามัญชน
การแปลสามก๊กในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชดำรัสให้แปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทย 2 เรื่องคือไซฮั่น แปลโดย กรมพระราชวังหลัง และสามก๊ก ที่แปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) มีความยาว 95 เล่มสมุดไทย